ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกทักษะและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่บุตรคนแรก: การทดลองแบบสุ่ม
ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี, นิตยา สินสุกใส*, ทัศนี ประสบกิตติคุณ, ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษมคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
ปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกส่วนใหญ่เกิดจากท่าในการอุ้มลูกดูดนมไม่ถูกวิธี การศึกษาแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะและสนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาที่คลอดบุตรคนแรก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเข้ากลุ่ม ทดลอง (44 คน) และกลุ่มควบคุม (42 คน) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับการสนับสนุนและการพยาบาลตามปกติ กลุ่มควบคมุได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วย นมมารดา แบบประเมนิประสิทธิภาพการดดูนม และแบบบันทึกการให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา สถิติไค สแควร์ และสถิติแมน-วิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และ 6 สัปดาห์ลังคลอดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้กับประชากรกลุ่มอื่นๆ
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2562, July-September
ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 258-270
คำสำคัญ
Pregnancy, Randomized controlled trial, self-efficacy, Postpartum period, Breastfeeding, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, Mothers, มารดา, ระยะตั้งครรภ์, ระยะหลังคลอด, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา