คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในประชาชนผู้รับบริการเลิกบุหรี่
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, สุนิดา ปรีชาวงษ์*, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน, สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา
กลุ่มงานวิจัยเพื่อการควบคุมยาสูบ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
แม้จะทราบกันดีว่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสามารถจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบได้ แต่การศึกษาเรื่องนี้ยังไม่มีมากนัก การศึกษาภาคตัดขวางนี้ ศึกษาอัตราการเลิกสูบบุหรี่และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ จำนวน 715 คน สุ่มจากผู้มารับบริการจากคลินิกเลิกบุหรี่ในโครงการเครือข่ายคลินิกฟ้าใส  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลจากจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระหว่างมีนาคม ถึง กรกฎาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ แบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มนักวิจัย EuroQol ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไควส์แควร์และการทดสอบที ผลการวิจัยพบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 25-64 ปี ส่วนใหญ่ติดนิโคตินในระดับต่ำ อัตราการเลิกบุหรี่แบบต่อเนื่องที่ 6 เดือนเท่ากับร้อยละ 40.5 กลุ่ม ตัวอย่างที่เลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง 6 เดือน มีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ยังคงสูบ บุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญยิ่งทีมสุขภาพ ในการปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเลิกบุหรี่นั้น พยาบาลสามารถปฏิบัติได้หลากหลายวิธี 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2562, July-September ปีที่: 23 ฉบับที่ 3 หน้า 285-296
คำสำคัญ
Thailand, Health-related quality of life, ประเทศไทย, Smoking cessation, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, quit smoking, การเลิกบุหรี่, เลิกบุหรี่