ผลของโปรแกรมการเตรียมลำไส้อย่างมีแบบแผนในผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่: การศึกษาแบบสุ่ม
นิษา เรื่องกิจอุดม*, วาทินี เธียรสุคนธ์, ปฐมพร บุนนาค, รจศิรินทร์ ชัยวงศ์, วรายุ ปรัชญากูล, สมชาย อมรโยธิน, ธวัชชัย อัครวิพุธ
หน่วยส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร งานการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลศิริราช
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการวินิจฉัยและการทำหัตถการของการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ ความสะอาดของลำไส้ การวิจัยนี้เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การส่องกล้องซ้ำ เนื่องจากเตรียมลำไส้ไม่สะอาดและประเมินความรู้ และการปฏิบัติตัว
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาอุบัติการณ์ของการส่องกล้องซ้ำ การเตรียมลำไส้ไม่สะอาด และประเมินความรู้และการปฏิบัติในผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม โดยใช้การทดลองแบบสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 63 คน ได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเตรียมลำไส้ใหญ่จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม โดยใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไคสแควร์ การทดสอบค่าทีอิสระ ค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัย: ไม่พบการส่องกล้องซ้ำในสองกลุ่ม แต่พบว่าในกลุ่มทดลองมีการประเมินความสะอาดของลำไส้ใหญ่ในระดับพอใช้และแย่น้อยกว่าคิดเป็น 0.81 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p = 0.1540) ซึ่งต่างกันประมาณร้อยละ 13 และคะแนนความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังให้ความรู้ ตอบถูกใกล้เคียงกันคือมากกว่าร้อยละ 80 แต่มีประเด็นหัวข้อเรื่องอาหารที่รับประทานในวันที่ 1 และ 2 นั้น ตอบถูกเพียงร้อยละ 5 ใน Pretest และ Posttest ร้อยละ 1.9 ตามลำดับ แต่ในหัวข้อการปฏิบัติตัวเรื่องการดื่มน้ำตามทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระในกลุ่มที่ทำไม่ได้นั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คิดเป็น 13.5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำได้ (p = 0.22)
สรุป: ถึงแม้ผลการทดลองที่ได้จะไม่มีความแตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมลำไส้อย่างมีแบบแผน มีแนวโน้มจะมีผลการประเมินการตรวจความสะอาดในระดับดีถึงดีมาก สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ผู้วิจัยเห็นว่าการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยประเมินระดับความสะอาดของลำไส้ด้วยตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่จะเสนอแนะให้ผู้สนใจศึกษาในกลุ่มย่อยนี้ต่อไป
 
ที่มา
The Thai Journal of Surgery ปี 2561, January-March ปีที่: 39 ฉบับที่ 1 หน้า 21-29
คำสำคัญ
Bowel preparation, Colonoscopy, Enhancement program