คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อําเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2556
ธีรพจน์ ฟักน้อยโรงพยาบาลบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อําเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2556
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงสํารวจ
วิธีดําเนินการวิจัย : ศึกษาวิจัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อําเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จํานวน 180 ราย คํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลผู้ป่วย แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36) แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตร ประจําวันของผู้ป่วย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า หาความเชื่อมั่นเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .93 เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึง มีนาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แจกแจงความถี่ คํานวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ57 อายุเฉลี่ย 62 ปี จบการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ77.60 มีผู้ให้การดูแล ร้อยละ 100 ผู้ให้การดูแลเป็นคู่สมรส ร้อยละ 46.70 รองลงมาเป็นบุตร ร้อยละ 42.40 โรคร่วมเป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 22.42 ประเมินความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน ( ตามระดับความรุนแรงที่พึ่งพาผู้ดูแล) ส่วนใหญ่พึ่งพาผู้ดูแลปานกลาง ร้อยละ 53.99 ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 69.14 ไม่ เคยได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้าน ร้อยละ 76.36 คุณภาพชีวิต พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมด้านร่างกายได้ เท่ากับ 64.90 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.38) ด้านจิตใจ ซึ่งเป็นคะแนนรวมของมิติ 4 มิติ ได้เท่ากับ 42.32 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.95) ทั้งนี้มิติการทํางานด้านร่างกาย ได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 36.32 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน5.19) และมิติการทํางานทางสังคม มีคะแนนต่ําสุดเท่ากับ 5.58 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.44)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยการดูแลสุขภาพที่บ้านที่ สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัว เช่น ความรู้ ทักษะ การดูแลตนเองที่บ้าน การฟื้นฟู การส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจที่เหมาะสมในแต่ละราย และเชื่อมโยงกับทรัพยากรจําเป็นที่หาได้จากชุมชน การมีส่วนร่วมในชุมชน สังคมที่สนับสนุน และเอื้ออํานวยความสะดวก ดังนั้น ทีมสุขภาพควรนําผลการวิจัยนี้ไปใช้การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้มี ประสิทธิภาพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้ดีขึ้น
ที่มา
Kamphaeng Phet Hospital ปี 2557, July-December
ปีที่: 18 ฉบับที่ 2 หน้า 11-19
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, ภาวะสุขภาพ, Patients with stroke, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, Health status, คุณภาพชี่วิต, health access, การเข้าถึงบริการสุขภาพ, ผู้ปวยโรคหลอดเลือดสมอง