คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4
พัชราภรณ์ พัฒนะ
ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี จังหวัดสระบุรี 18130
บทคัดย่อ
ประเทศไทยมีเป้าหมายให้ประชาชนมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีการวิจัยเป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ของประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ก่อนและหลังเป็นสมาชิก ในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4 ทั้งหมด 24 ชุมชน จำนวน 5,926 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสุ่มแบบระบบ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2560- เดือนพฤษภาคม 2561 ให้ผู้สูงอายุตอบแบบสอบถามเครื่องมือ ที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย WHOQOL-BREF-THAI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ t-test ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนรวมพฤติกรรม สุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ 69.69 (11.87) และหลังเข้าร่วมโครงการ 73.12 (9.81) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการ ออกกำลังกายและการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับดี และ ระดับไม่ดี เมื่อพิจารณารายมิติผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจดีที่สุด รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกาย และด้านสัมพันธภาพทางสังคมตามลำดับ การพัฒนาศักยภาพชุมชนและผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควรสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของกิจกรรม เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุเข้าถึงได้
 
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2562, January-April ปีที่: 36 ฉบับที่ 1 หน้า 21-33
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, Food consumption behavior, Quality of life for elderly, Elderly Care Learning Center, participation in health promotion activities, physical exercises and emotions, ศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, การออกกำลังกาย และอารมณ์