การติดตามผลการหายของบาดแผลผ่าตัดต่อมทอนซิลหลังการใช้ ยาซูครัลเฟตเฉพาะที่
จิระพงษ์ อังคะรา*, ศิรินันท์ จั่นทอง, พัชรินทร์ บุนนาค
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การผ่าตัดต่อมทอนซิลเป็นหัตถการที่ทำกันอย่างแพร่หลาย โดยปัญหาหลังการผ่าตัด คือ อาการเจ็บปวด ของแผลผ่าตัด และการหายของแผลที่ช้า ซึ่งส่งผลให้ไม่สะดวกสบายในการรับประทานอาหาร การศึกษานี้ต้องการหาวิธีลดความเจ็บปวดของแผลผ่าตัดและทำให้แผลผ่าตัดหายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยวิธีที่ง่าย สะดวก ปลอดภัย และไม่มีค่าใช้จ่ายมากมายนัก
วิธีดำเนินการวิจัย: คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้ยา sucralfate ชนิดเม็ดที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมาบดและ ป้ายลงบนแผลผ่าตัดทอนซิลเพียงครั้งเดียวหลังจากผ่าตัดเสร็จ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการตัดต่อมทอนซิล ทั้งสองข้าง จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นผู้ชาย 16 ราย อายุเฉลี่ย 29.78 ± 11.04 ปีโดยทำการสุ่มป้ายยา sucralfate ลงบนต่อมทอนซิลข้างใดข้างหนึ่ง แล้วจึงวัดผลความเจ็บปวดแผลผ่าตัด โดยให้ผู้ป่วยให้คะแนนความเจ็บปวด แผลผ่าตัดแต่ละข้างตั้งแต่วันแรกที่ผ่าตัดถึงวันที่ 7 หลังผ่าตัด และทำการประเมินการหายของบาดแผลโดยวัดประมาณร้อยละของแผลที่มีเนื้อเยื่อขึ้นมาปกคลุม คำนวณความแตกต่างของความเจ็บปวดในแต่ละวัน และการหายของบาดแผลโดยใช้ค่าสถิติ paired T-test
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าหลังจากผ่าตัดตั้งแต่วันแรกถึงวันที่ 7 หลังผ่าตัด คะแนนความปวดเปรียบเทียบระหว่างข้างที่ศึกษา และข้างควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) แต่การหาย ของแผลในข้างที่ทำการป้ายยา sucralfate แผลผ่าตัดมีเนื้อเยื่อขึ้นมาปกคลุมบาดแผลมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P = 0.033)
สรุป: การใช้ยา sucralfate ป้ายที่แผลผ่าตัดต่อมทอนซิลมีผลในเชิงบวกต่อการหายของบาดแผล สามารถนำมาใช้ป้ายแผลเฉพาะที่ได้ มีราคาถูกและมีความปลอดภัยในการใช้ยาสูง เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยทำให้บาดแผลผ่าตัดทอนซิลหายได้เร็วขึ้นและทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายหลังผ่าตัดที่มากขึ้นด้วย
 
ที่มา
Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine ปี 2560, October-December ปีที่: 61 ฉบับที่ 4 หน้า 257-266
คำสำคัญ
Tonsillectomy, pain score, Wound healing, Topical sucralfate