ผลเปรียบเทียบการวางอิเล็กโทรดสองแบบจากการใช้ acupuncture-like TENS ต่อการลดปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง
สุกัญญา เอกสกุลกล้า*, ฉัตรสุดา สุรพัฒน์, ภรัณยา ภัสสราวุฒิเลิศ, ศศินันท์ กาญจนกุล
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Acupuncture-like transcutaneous electrical nerve stimulation (AL-TENS) เพื่อบรรเทาอาการปวดคอ เรื้อรัง   แต่ยังขาดหลักฐานเกี่ยวกับผลของการวาง อิเล็กโทรดบนจุดฝังเข็มในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการวางอิเล็กโทรดสองแบบ คือ การวางบริเวณที่ปวดและการวางบนจุดฝังเข็มต่อระดับความ เจ็บปวดในผู้ที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง
วิธีการวิจัย: อาสาสมัครที่มีอาการปวดคอเรื้อรังจำนวน 24 คน ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ได้แก่ กลุ่ม AL-TENS ได้รับการวางอิเล็กโทรดบริเวณที่มีอาการปวดกลุ่ม Acupoint-TENS ได้รับการวางอิเล็กโทรดบนจุดฝังเข็ม (GB20, GB21, SI14 และ SI15) และกลุ่ม Placebo ได้รับการวางอิเล็กโทรดเหมือนกลุ่ม Acupoint-TENS  แต่ไม่ได้รับการกระตุ้น ซึ่งอาสาสมัครจะได้รับการรักษาด้วยการใช้ AL-TENS หรือถูกรักษา แบบหลอกเป็นเวลา 30 นาที/ครั้ง ทั้งหมด 7 ครั้ง โดยค่าระดับความเจ็บปวดถูกประเมินก่อนการรักษา หลังการรักษาและติดตามผลหลังการรักษา 2 สัปดาห์ด้วย Visual Analog Scale (VAS)
ผลการวิจัย: กลุ่ม AL-TENS พบว่าค่าระดับความ เจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังการรักษาและติดตามผลหลังการรักษา 2 สัปดาห์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม Placebo  ส่วนกลุ่ม Acupoint- TENS พบว่าค่าระดับความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงติดตามผลหลังการรักษา 2 สัปดาห์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม Placebo อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม AL-TENS และกลุ่ม Acupoint-TENS ทั้งหลังการรักษาและในช่วงติดตามผลหลังการรักษา 2 สัปดาห์
สรุปผล: การใช้ AL-TENS ด้วยการวางอิเล็กโทรดบนจุดฝังเข็มสามารถบรรเทาอาการปวดได้เช่นเดียวกันกับการวางอิเล็กโทรดบริเวณที่มีอาการปวดในผู้ที่มีอาการ ปวดคอเรื้อรัง
 
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2561, September-December ปีที่: 40 ฉบับที่ 3 หน้า 104-119
คำสำคัญ
Neck pain, Acupuncture-like TENS, Low-frequency TENS, Acupoint, Electrode placement