ผลของการเดินแบบนอร์ดิกต่อความดันโลหิตและประสิทธิภาพในการออกกำลังกายในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครนายก
ฐาณมาศ เกษเพ็ชร, ศุภมาศ ขำแสง, อริสา โพธิ์ชัยสาร, ิพิมลพร เชาวน์ไวพจน์*
สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ คณะกายภายบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินแบบนอร์ดิกต่อความดันโลหิต ประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย และชีวิตในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เป็นรูปแบบการวิจัยกึ่ง ทดลอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน กำหนดให้เดินแบบนอร์ดิกตามโปรแกรมที่กำหนดไว้เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลความดันโลหิต ประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย ระดับความเหนื่อย และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน repeated measures ANOVA, student’s paired t-test และ student’s unpaired t-test ผลการศึกษาพบว่าภายหลังได้รับ โปรแกรมการออกกำลังกาย กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และระดับความเหนื่อยต่ำกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) กลุ่มทดลองมีประสิทธิภาพในการออกกำลังกายสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.005) และมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.001) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบนอร์ดิกเป็นการออกกำลังกายที่สามารถลดระดับ ความดันโลหิต ลดระดับความเหนื่อย เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในผู้ที่ มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เป็นทางเลือกในการออกกำลังกายที่ปฏิบัติได้ง่ายเพื่อป้องกันโรคความดัน โลหิตสูงในประชากรกลุ่มนี้
ที่มา
วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี 2562, August ปีที่: 26 ฉบับที่ 2 หน้า 10-21
คำสำคัญ
Exercise performance, people with prehypertension, Nordic walking, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, การเดินแบบนอร์ดิก, ประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย