ประสิทธิผลการบำบัด Co-occurring disorder (COD) Intervention ในผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีน
กิตต์กวี โพธิ์โน*, วรท ลำใย, ปราณี ฉันทพจน์, สุพัตรา สุขาวห
โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม Co-occurring disorder (COD) Intervention ในการหยุดการเสพเมทแอมเฟตามนีและการไม่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 90 วัน ของผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีนเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามปกติ
วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาเชิงทดลอง แบบสุ่มเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประเมิน ผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการ รักษาแบบผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จำนวน 44 ราย ได้รับการจับคู่ตามเพศ ระดับอาการทางจิต และระดับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง จัดเข้ากลุ่มโดยสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม COD intervention จำนวน 12 ครั้งใน 2 สัปดาห์ เปรียบ เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับบริการตามมาตรฐานปกติ ประเมินผลลัพธ์โดยวัดการหยุดเสพเมทแอมเฟตามีนและการไม่กลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในซ้ำภายใน 90 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณาและอนุมาน
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีการหยุดเสพเมทแอมเฟตามีนละไม่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ภายใน 90 วัน ร้อยละ 95.45 แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่มีการหยุดเสพและไม่กลับมารักษาซ้ำใน โรงพยาบาลภายใน 90 วัน ร้อยละ 72.73 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <.05 (c2 =4.25,p =.039)
สรุป:  จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรม COD intervention มีประสิทธิผลในการทำให้ ผู้ป่วยโรคจิตจากเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ หยุดเสพเมทแอมเฟตามีนและไม่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลหลังสิ้นสุดโปรแกรมใน 90 วัน สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่และควรศึกษาเพิ่มเติมโดยติดตามผลต่อเนื่องในระยะยาวกับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2561, April-June ปีที่: 63 ฉบับที่ 2 หน้า 127-140
คำสำคัญ
Methamphetamine, co-occurring psychosis substance use disorder, integrated treatment, เมทแอมเฟตามีน, โรคร่วมโรคจิต, ความผิดปกติพฤติกรรมการใช้สารเสพติด, การบำบัดแบบบูรณาการ