เปรียบเทียบการใช้ Isobaric and hyperbaric ในการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในโรงพยาบาลสระบุรี
พลภัทร สุลีสถิระDepartment of Anesthesiology, Saraburi Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง 0.5% Isobaric และ Hyperbaric bupivacaine ในการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โดยศึกษาในเรื่อง Onset และระยะเวลาที่ระดับการชาสูงสุด ระยะเวลาที่ระดับการชาลดลง 2 Dermatome ระดับการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การใช้ยา Ephredrine ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อกลับมามีแรงปกติวิธีการ ทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 60 คน (ASA 1-2) ที่มารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วนและได้รับการระงับความรู้สึกแบบการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง ได้ทำการสุ่มและแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 30 คน ได้รับยา 0.5% Hyperbaric bupivacaine กลุ่มที่ 2 จำนวน 30 คน ได้รับยา 0.5% Isobaric bupivacaine การฉีดยาจะฉีดยาในท่าตะแคงโดยวิสัญญีแพทย์ผู้ทำการศึกษาคนเดียวตลอดการศึกษา และไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใด ผู้ป่วยจะกลับมานอนหงายทันทีหลังฉีดยาเสร็จ และนอนหงายบนเตียงราบตลอดการศึกษา หลังฉีดยาจะมีการประเมินและบันทึกระดับการชาและกำลังของกล้ามเนื้อทุก 5 นาที เพื่อวัด Onset และระยะเวลาที่ระดับการชาสูงสุด ระยะเวลาที่ระดับการชาลดลง 2 Dermatome ระดับการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หลังจากผู้ป่วยมีระดับการชาลดลง 2 Dermatome จะมีประเมินและบันทึกกำลังของกล้ามเนื้อทุก 15 นาที เพื่อวัดระยะเวลาที่กล้ามเนื้อกลับมามีแรงปกติ การใช้ยา Ephredrine จะถูกบันทึกไว้ตลอดการศึกษา การประเมินและบันทึกจะทำโดยวิสัญญีแพทย์อีกคนที่ไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใดผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของยาทั้ง 2 ชนิดทั้งในแง่ของ Onset และระยะเวลาที่ระดับการชาสูงสุด ระยะเวลาที่ระดับการชาลดลง 2 Dermatome ระดับการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การใช้ยา Ephredrine และระยะเวลาที่กล้ามเนื้อกลับมามีแรงปกติ
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลสระบุรี ปี 2549, September-December
ปีที่: 31 ฉบับที่ 3 หน้า 134-139
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, subarachnoid, Isobaric and hyperbaric bupivacaine, การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง