การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบต่อการกรองของเสียของไต จากการบริหารยาแอมโพเทอริซิน บี แบบต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง
กำธร มาลาธรรม, วีรวัฒน์ มโนสุทธิ, ศศิวิมล รัตนศิริ, สมนึก ดำรงกิจชัยพร, อรอุมา บรรพมัย*
Division of Infectious Disease, Department of Medicine, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ :  เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อการชำระครีแอทินินของไต  และอาการข้างเคียง  จากการบริหารยาแอมโฟเทอริซิน  บี  แบบต่อเนื่อง 6  ชั่วโมง และ 24  ชั่วโมง รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยเชิงทดลองแบบ  prospective, randomized  controlled  study  กลุ่มตัวอย่าง :  ผู้ป่วยในของภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี  และสถาบันบำราศนราดูร  ที่มีข้อบ่งชี้ในการได้รับยาแอมโฟเทอริซิน  บี  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2547  ถึงเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2548  จำนวน  72  ราย วิธีดำเนินการวิจัย :  ผู้ป่วยใน  ที่มีข้อบ่งชี้ในการได้รับยาแอมโฟเทอริซิน  บี  และยินยอมเข้าร่วมโครงการ  ได้รับการสุ่มคัดเลือกแบ่งเป็นสองกลุ่ม  คือกลุ่มควบคุมได้รับยาแอมโฟเทอริซิน  บี  แบบต่อเนื่อง  6  ชั่วโมง  จำนวน  35  ราย  และกลุ่มทดลองที่ได้รับยาแบบต่อเนื่อง  24  ชั่วโมง  จำนวน 37  ราย  กลุ่มตัวอย่างได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะก่อนได้รับยาและทุก  1  สัปดาห์จนได้ยาครบตามกำหนด  เพื่อตรวจหาค่าการชำระครีแอทินินของไต  (creatinine  clearance)  และค่าดัชนีที่แสดงถึงปริมาณการคัดหลั่งโพแทสเซียมและแมกนีเซียม (fractional  excretion  K+  and  Mg+)  รวมทั้งทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาการข้างเคียงซึ่งสัมพันธ์กับการบริหารยาตัววัดที่สำคัญ :  ค่าการชำระครีแอทินิน  (creatinine  clearance)  ค่าดัชนีที่แสดงถึงปริมาณการคัดหลั่งโพแทสเซียมและแมกนีเซียม  (fractional  excretion  K+  and  Mg+) และผลข้างเคียงซึ่งสัมพันธ์กับการบริหารยาแอมโฟเทอริซิน บีผลการวิจัย :  ค่าการชำระครีแอทินินในวันที่ 7  และวันที่ 14  ในกลุ่มทดลองที่ได้รับยาแบบต่อเนื่อง  24  ชั่วโมงเท่ากับ  83.9 + 22.9 มล./ นาที และ  81.8 + 22.5  มล./ นาที  ซึ่งมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับยาแบบต่อเนื่อง  6  ชั่วโมง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  ที่มีการค่าการชำระครีแอทินินเท่ากับ  62.7 + 25.3 มล./ นาที และ  51.7 + 18.9  มล./ นาที  ตามลำดับสำหรับการเกิดภาวะไตเสื่อมหรือการที่มีระดับครีแอทินินในเลือด  (serum  creatinine)  สูงขึ้นจากเดิมอย่างน้อย  2  เท่าในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม  เกิดขึ้น  ร้อยละ  2.7  และ  ร้อยละ  45.7  ซึ่งกลุ่มทดลองเกิดขึ้นน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < 0.001)  สำหรับอัตราการเกิดอาการข้างเคียงซึ่งสัมพันธ์กับการบริหารยาแอมโฟเทอริซิน  บี  ยกเว้นภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ  พบว่าในกลุ่มทดลอง  เกิดขึ้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ส่วนค่าดัชนีที่แสดงถึงปริมาณการคัดหลั่งของโพแทสเซียม  แมกนีเซียม  และประสิทธิผลในการรักษาระหว่าง  2  กลุ่ม นั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป :  การบริหารยาแอมโฟเทอริซิน  บี  แบบต่อเนื่อง  24  ชั่วโมง  ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไต  และอาการข้างเคียงซึ่งสัมพันธ์กับการบริหารยาน้อยกว่าการบริหารยาแบบต่อเนื่อง  6  ชั่วโมง  โดยที่ได้ประสิทธิผลในการรักษาที่ไม่แตกต่างกัน  
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2549, September-December ปีที่: 50 ฉบับที่ 3 หน้า 153-164
คำสำคัญ
amphotericin B, creatinine clearance, fractional excretion