การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โดยวิธีผูกหลอดน้ำเหลืองเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
นาวิน ขันธรักษา
โรงพยาบาลสุรินทร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาอัตราการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังผ่าตัดเทียบระหว่างการผ่าตัดโดยวิธีการผูกหลอดน้ำเหลืองเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม 2.ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 68 รายได้รับการผ่าตัดเต้านมกับผ่าตัดเลาะต่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โดยศัลยแพทย์ 1 คน โดยทำการเลือกผ่าตัดแบบสุ่ม จำแนกเป็นกลุ่มที่ 1 ผ่าตัดโดยวิธีผูกหลอดน้ำเหลือง จำนวน 34 ราย กลุ่มที่ 2 ผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองแบบดั้งเดิมจำนวน 35 ราย
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัดทั้งหมด 18 ราย (26.09%) โดย 8 ราย (23.53%) เกิดในกลุ่มที่ทำการผ่าตัดโดยวิธีผูกหลอดน้ำเหลือง อีก 10 ราย (28.57%) เกิดในกลุ่มที่ทำการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองแบบดั้งเดิม ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.633) สำหรับระยะเวลาการใส่สายระบายและจำนวนของเหลวทั้งหมดจากสายระบาย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p = 0.238, p = 0.330 ตามลำดับ) พบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดในกลุ่มทำการผ่าตัดโดยวิธีผูกหลอดน้ำเหลืองมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.002)  การศึกษาพบว่า อายุ ค่าดัชนีมวลกาย จำนวนของเหลวทั้งหมดจากสายระบายและสายระบายหลุดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัด(p = 0.005, p = 0.008, p = 0.015 ตามลำดับ)    ซึ่งเมื่อซึ่งเมื่อใช้การวิเคราะห์หลายตัวแปรพบว่า อายุ ค่าดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัด (p=0.008, p=0.025 ตามลำดับ)
สรุป: การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โดยวิธีผูกหลอดน้ำเหลืองไม่สามารถลดอัตราการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัดเมื่อเทียบกับหลังการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองแบบดั้งเดิม อายุ ค่าดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งภายหลังการผ่าตัดเต้านมร่วมกับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
 
 
ที่มา
The Thai Journal of Surgery ปี 2562, July-Sebtember ปีที่: 39 ฉบับที่ 3 หน้า 65-71
คำสำคัญ
Breast cancer, axillary dissection, seroma, lymphatic ligation