ต้นทุนการจัดบริการของคลินิกหมอครอบครัว
ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, อุทุมพร วงษ์ศิลป์*, กัญจนา ติษยาธิคม, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์, นำพร สามิภักดิ์สำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster: PCC) โดยเก็บข้อมูลจากคลินิกหมอครอบครัวในพื้นที่เป้าหมาย4 จังหวัดๆละ 1แห่งตามความพร้อมของพื้นที่จำแนกเป็น PCC ในเขตเมือง 2 แห่ง และชนบท 2 แห่ง ทำการศึกษาต้นทุนโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) ในปี พ.ศ. 2559 และ ปีพ.ศ. 2560 บางส่วน ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูลรายงานทางการเงิน ข้อมูลบริการและภาระงานของบุคลากร จากนั้นนำมาคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนต่อหน่วยด้วยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม (activity-based costing: ABC)
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของต้นทุนคลินิกหมอครอบครัวส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่าแรง รองลงมาเป็นต้นทุนค่าวัสดุต้นทุน ค่าลงทุนมีสัดส่วนที่น้อยกว่าต้นทุนอื่นๆ PCC เขตเมืองจะมีสัดส่วนต้นทุนค่าวัสดุสูงกว่า PCC เขตชนบท และต้นทุนบริการเฉลี่ยต่อหัวประชากรเท่ากับ 1,025.21 บาท
ข้อสังเกตหนึ่งจากการศึกษาก็คือPCC ที่ทำการศึกษาทุกแห่งยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาและปรับระบบบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์เต็มที่กับประชาชน ดังนั้น ต้นทุนที่ศึกษาได้นี้อาจเป็นเพียงต้นทุนสำหรับการดำเนินงานเบื้องต้นของ PCC เท่านั้น
ที่มา
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2562, April-June
ปีที่: 13 ฉบับที่ 2 หน้า 175-187
คำสำคัญ
Primary care, Unit cost, ต้นทุนต่อหน่วย, activity-based costing, primary care cluster, ปฐมภูมิ, ต้นทุนฐานกิจกรรม, คลินิกหมอครอบครัว