ประสิทธิผลของยา diclofenac ในการบำบัดอาการปวด ภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลปทุมธานี
วิวัฒน์ ภัทรีชวาลDepartment of Obstetrics and Gynecology, Pathumthani Hospital, Pathumthani
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยา diclofenac 75 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อร่วมกับการรับประทานยา diclofenac จำนวน 50 มก. ทุก 8 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 2 วัน ในการบำบัดอาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองแบบ prospective, randomized controlled studyกลุ่มตัวอย่าง : หญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 จำนวนทั้งหมด 60 รายวิธีดำเนินการวิจัย : หญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดบุตร และยินยอมเข้าร่วมโครงการ ได้รับการสุ่มคัดเลือกเป็นสองกลุ่ม ๆ ละ 30 ราย กลุ่มศึกษาจะได้รับยา diclofenac 75 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อและได้รับยารับประทาน 50 มก. ทุก 8 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 2 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับยาแก้ปวด acetaminophen ชนิดรับประทาน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้รับการผ่าตัดโดยสูติแพทย์คนเดียวกัน ทำการเก็บข้อมูลพื้นฐาน และประเมินความรุนแรงของอาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรโดยใช้ pain faces scaleตัววัดที่สำคัญ : อาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณลักษณะทั่วไปที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความรุนแรงของอาการปวดภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตร พบว่ากลุ่มควบคุม มีระดับคะแนนความปวดที่ 6 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เท่ากับ 5.1 + 0.9 และ 3.4 + 1.4 ส่วนกลุ่มศึกษาเท่ากับ 2.5 + 0.5 และ 1.9 + 1.1 ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาในกลุ่มศึกษา พบเพียง 1 ราย ที่มีอาการปวดท้อง แต่หายเป็นปกติภายหลังจากที่ได้รับการรักษาแบบกระเพาะอาหารอักเสบ ด้วยการใช้ยาสรุป : การให้ยา diclofenac 75 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อภายหลังการผ่าตัดคลอดบุตรร่วมกับการรับประทานยา diclofenac 50 มก. ทุก 8 ชั่วโมง นาน 2 วัน สามารถลดอาการปวดภายหลังการผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่อย่างใด
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2549, September-December
ปีที่: 50 ฉบับที่ 3 หน้า 173-178
คำสำคัญ
caesarean section, Diclofenac, Post operative pain