ผลการฝึกมวยไทยต่อการระบายอากาศสูงสุดของผู้ที่มีภาวะอ้วน
ชยุต ทะระพงษ์, ปรียาภรณ์ ธนะพงศ์วิศาล, พงศ์พันธ์ วิเชียรวรรณ์, รัตนาภรณ์ นามวงษ์, ทวีวัฒน์ เวียงคำ, วีระพงษ์ ชิดนอก*
หน่วยวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการฟื้นฟู ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกมวยไทยต่อการ ระบายอากาศสูงสุดในผู้ที่มีภาวะอ้วนระดับที่หนึ่ง
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร ภาวะอ้วนระดับที่หนึ่ง จำนวน 26 คน (เพศชาย จำนวน 6 คน และเพศหญิง จำนวน 20 คน) ได้รับการสุ่มตัวอย่าง แบบง่ายด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม ควบคุม จำนวน 13 คน อายุเฉลี่ย 20.7 ± 1.4 ปี ค่าดัชนี มวลกายเฉลี่ย 27.6 ± 1.2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ กลุ่มทดลอง (มวยไทย) จำนวน 13 คน อายุเฉลี่ย 20.2 ± 1.1 ปี ค่าดัชนีมวลกาย 27.5 ± 1.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ได้รับการวัดค่าการระบายอากาศสูงสุดจากการทดสอบ ด้วยจักรยานวัดงานแบบเพิ่มความหนักก่อนเข้าโปรแกรม และหลังสัปดาห์ที่ 8 โดยกลุ่มควบคุมดำ เนินชีวิตประจำวัน ตามปกติในช่วงระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มทดลอง (มวยไทย) ได้รับการฝึกตามโปรแกรมมวยไทยที่ระดับ ความหนักร้อยละ 89 ± 4 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ช่วงระยะเวลาชก 3 นาที สลับกับพักเป็นเวลา 4 นาที ต่อยก จำ นวน 2-5 ยกต่อครั้ง เป็นเวลา 54-75 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติด้วย Mixed-model ANOVA ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ p-value < 0.05 ทั้งนี้โครงการวิจัยได้ผ่านการ พิจารณาและรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (เลขที่ 242/2017 วันที่ 11 ตุลาคม 2560) เป็นที่เรียบร้อย
ผลการวิจัย ก่อนการฝึก อาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม มีค่าการระบายอากาศสูงสุดไม่แตกต่างกัน หลังการทดลอง ครบ 8 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลอง (ฝึกมวยไทย) มีค่า การระบายอากาศสูงสุดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (กลุ่มทดลอง = 81.9 ± 23.1 ลิตร ต่อนาที และกลุ่มควบคุม = 60.1 ± 19.2 ลิตรต่อนาที) รวมทั้งกลุ่มทดลอง (ฝึกมวยไทย) ยังมีค่าการระบายอากาศ สูงสุดระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่าก่อนฝึก 59.3 ± 14.5 ลิตรต่อนาที และค่าหลังฝึก 81.9 ± 23.1 ลิตรต่อนาที ตามลำดับ) อย่างไรก็ดี พบว่ากลุ่มควบคุม มีค่าการระบายอากาศสูงสุดระหว่างก่อนการฝึกและหลัง การฝึก 8 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
สรุปผลการวิจัย การฝึกมวยไทยในระยะเวลา 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มค่าการระบายอากาศสูงสุดในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วนระดับที่หนึ่งได้
 
ที่มา
วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ปี 2562, January-April ปีที่: 20 ฉบับที่ 1 หน้า 88-98
คำสำคัญ
Training, Obesity, ภาวะอ้วน, Minute ventilation, Thai boxing, Interval training, การระบายอากาศ, มวยไทย, การฝึก, การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา