ผลของเครื่องมือถ่างแผลผ่าตัดต่อความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจและการเป็นอัมพาตของเส้นประสาท Recurrent Laryngeal ระหว่างการผ่าตัด หมอนรองกระดูกและเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้า : การศึกษาเบื้องต้น
กรกมล ยุวพัฒนวงศ์*, ลาวัณย์ ตู้จินดา, วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์, สุรัญชนา เลิศศิริโสภณ, สุนิสา แสงทองจรัสกุลภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฺ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330
บทคัดย่อ
บทนำ: การผ่าตัดหมอนรองกระดูกและเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้า (anterior cervical discectomy and fusion: ACDF) ต้องอาศัยการวางเครื่องมือถ่างแผลผ่าตัดเพื่อให้เห็นกระดูกสันหลังด้านหน้าชัดเจนขึ้น ผลที่ตามมาคือผนังด้านข้างของหลอดลมและเส้นประสาท recurrent laryngeal จะถูกดันทั้งจากเครื่องมือถ่างแผล และส่วนกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube cuff) อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตของเส้นประสาท recurrent laryngeal หลังการผ่าตัดได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของเครื่องมือถ่างแผลผ่าตัดต่อ ความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจในการผ่าตัด หมอนรองกระดูกและเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้าและ ผลของการปรับค่าความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ ต่อการเกิดภาวะกลืนลำบาก ภาวะสายเสียงขยับน้อย เสียงแหบและ เจ็บคอ หลังการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ prospective randomized clinical trial ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกและ เชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้าในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 24 ราย โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 6 ราย โดยการสุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A คือปรับค่าความดันภายในกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจให้คงที่ในช่วงความดัน 20 มิลลิเมตร ปรอท หลังวางเครื่องมือถ่างเปิดแผลและใช้ออกซิเจน ในอากาศระหว่างการดมยาสลบ กลุ่ม B คือไม่มีการปรับค่า ความดัน และใช้ออกซิเจนในอากาศระหว่างการดมยาสลบ กลุ่ม C คือปรับค่าความดันภายให้คงที่และใช้ออกซิเจนในไน ตรัส ระหว่างการดมยาสลบ กลุ่ม D คือไม่มีการปรับค่าความ ดันและใช้ออกซิเจนในไนตรัสระหว่างการดมยาสลบ บันทึก ค่าความดันกระเปาะหลอดลมของท่อช่วยหายใจและ ค่าความดันหลอดลมตลอดการผ่าตัด ภาวะกลืนลำบากหลัง ผ่าตัดประเมินโดย Bazaz dysphagia scale ที่ 24 ชั่วโมง และ 1 เดือนหลังการผ่าตัด ภาวะเสียงแหบประเมินโดย GRBAS scale และคะแนนความเจ็บคอหลังผ่าตัดประเมินโดยมาตร วัดความปวดแบบตัวเลข (numeric rating scale: NRS)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่ม (24 ราย) มีความดันกระเปาะ ลมของท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นระหว่างการใช้เครื่องมือถ่างแผล ผ่าตัดอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความแตกต่างกันของ ความดันกระเปาะหลอดลมของท่อช่วยหายใจและค่าความดัน หลอดลมระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ก๊าชไนตรัส พบภาวะ กลืนลำบาก เสียงแหบและเจ็บคอภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วย ทุกราย โดยกลุ่มที่ปรับค่าความดันภายในกระเปาะลมของ ท่อช่วยหายใจให้คงที่ในช่วงความดัน 20 มิลลิเมตรปรอท มีระดับความรุนแรงของการกลืนลำบากและภาวะเสียงแหบ หลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยทุกรายให้คะแนนระดับความ เจ็บคอไม่แตกต่างกัน
สรุป: การวางเครื่องมือถ่างแผลในผ่าตัดหมอนรองกระดูกและเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้าทำให้เกิดการเพิ่มขึ้น ของความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ การใช้ก๊าชไนตรัสระหว่างการดมยาสลบไม่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความดันกระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ การปรับค่าความดันภายในกระเปาะลมท่อช่วยหายใจให้คงที่ในช่วงความดัน 20 มิลลิเมตรปรอทระหว่างการวางเครื่องมือถ่างเปิดแผลสามารถช่วยลดระดับความรุนแรงของภาวะกลืนลำบากและเสียงแหบได้
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2562, July-September
ปีที่: 45 ฉบับที่ 3 หน้า 87-95
คำสำคัญ
endotracheal tube cuff pressure, anterior cervical discectomy and fusion, recurrent laryngeal nerve, surgical retractor, การผ่าตัดหมอนรองกระดูกและเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้า, กระเปาะลมของท่อช่วยหายใจ, เครื่องมือถ่าง แผลผ่าตัด, ค่าความดันเส้นประสาท