ประสิทธิผลของการส่องไฟแบบเข้มในทารกแรกเกิดตัวเหลือง
พยนต์ บุญญฤทธิพงษ์*, วิยดา บุญเลี่ยง, สุภาพรรณ ตันตราชีวธร
Department of Pediatrics, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแสงไฟที่ให้พลังงานแสงอย่างน้อย  30 µw / cm2 /nm  ต่อการลดลงของระดับสารบิลิรูบินในเลือดรูปแบบการวิจัย :  การวิจัยเชิงทดลองแบบ  prospective  randomized  controlled  trialกลุ่มตัวอย่าง :  ทารกแรกเกิดครบกำหนดในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ระหว่างเดือนกันยายน  พ.ศ. 2549  ถึง  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2549  ที่มารดามีอายุครรภ์ระหว่าง  37-42  สัปดาห์  มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่  2,500  กรัมขึ้นไป  ไม่มีภาวะขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด มีภาวะตัวเหลืองที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงและระดับสารบิลิรูบินในเลือด  มีค่าระหว่าง  13.0-19.9  มก./ ดล.  จำนวนทั้งสิ้น  50  รายวิธีดำเนินการวิจัย :  ทำการแบ่งผู้ป่วยเป็น  2  กลุ่ม  ๆ  ละ  25  ราย  โดยใช้ตารางสุ่ม  (table  of  random  numbers) กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยวิธี  conventional  phototherapy (CPT)  ที่มีพลังงานแสงระหว่าง  12-15  µw / cm2 /nm  กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มทดลอง  ได้รับการรักษาด้วยวิธี  intensive  phototherapy  (IPT)  ที่มีพลังงานแสงอย่างน้อย  30  µw / cm2 /nm  ทำการเปรียบเทียบระดับสารบิลิรูบินในเลือดที่เปลี่ยนแปลงหลังได้รับการส่องไฟรักษาเป็นระยะเวลา  24  และ  48  ชั่วโมงตัววัดที่สำคัญ :  จำนวนที่ลดลงของระดับสารบิลิรูบินในเลือดและร้อยละของสารบิลิรูบินในเลือดที่เปลี่ยนแปลง  อุณหภูมิร่างกาย  น้ำหนัก  จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ  หลังให้การส่องไฟรักษาเป็นระยะเวลา  24  และ  48  ชั่วโมงผลการวิจัย :  ปัจจัยพื้นฐานและระดับสารบิลิรูบินในเลือดก่อนให้การรักษาของทั้ง  2  กลุ่ม  แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติหลังให้การรักษา  พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับสารบิลิรูบินในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยภายหลังการรักษาที่ระยะเวลา  24  ชั่วโมง  กลุ่มทดลองลดลง  4.4 + 2.0 มก./ดล.  กลุ่มควบคุมลดลง  2.2 + 1.6 มก./ดล. (p-value< 0.001)  และหลังการรักษาที่ระยะเวลา  48 ชั่วโมง  กลุ่มทดลองลดลง 7.0 + 1.9 มก./ดล.  กลุ่มควบคุมลดลง 4.0 + 1.8 มก./ดล. (p-value< 0.001)  ส่วนอุณหภูมิร่างกาย  น้ำหนัก  จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระหลังให้การรักษาที่ระยะเวลา  24  และ  48  ชั่วโมงของทั้ง  2  กลุ่มไม่แตกต่างกันสรุป :  การใช้แสงไฟที่ให้พลังงานแสงอย่างน้อย  30  µw / cm2 /nm  ในการรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองมีประสิทธิผลในการลดระดับสารบิลิรูบินในเลือด  ได้ดีกว่าการใช้แสงไฟที่ให้พลังงานแสงระหว่าง  12-15  µw / cm2 /nm   หลังจากส่องไฟรักษาที่ระยะเวลา  24  และ  48  ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2550, January-April ปีที่: 51 ฉบับที่ 1 หน้า 1-8
คำสำคัญ
Conventional phototherapy (CPT), Intensive phototherapy (IPT), Non-hemolytic unconjugated hyperbilirubinemia