การศึกษาการใช้ยา ibuprofen เปรียบเทียบกับยา acetaminophen ในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บภายหลังการคลอดบุตร
รุ่งทิวา กมลเดชเดชา*, เยื้อน ตันนิรันดรDepartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ ibuprofen 400 มิลลิกรัม และ acetaminophen ในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บ ภายหลังการคลอดบุตรวัสดุและวิธีการ: รูปแบบการศึกษาเป็นแบบสุ่มตัวอย่าง โดยหญิงตั้งครรภ์ครบกำหนดที่คลอดบุตรทางช่องคลอด และได้รับการตัดฝีเย็บด้านข้าง ในช่วงเวลาระหว่าง มิถุนายน พ.ศ. 2549 และพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ทั้งหมด 210 คน สุ่มเพื่อรับยา ibuprofen 400 มิลลิกรัม (n = 106) หรือ acetaminophen 1000 มิลลิกรัม (n = 104) โดยทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับยาหลังจากเย็บแผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีการเก็บข้อมูลระดับความปวดตั้งแต่ก่อนได้รับยา ชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 หลังการได้รับยา โดยใช้ “10-cm visual analogue scale” ประเมินผลข้างเคียงและระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ 24 ชั่วโมงผลการศึกษา: ประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บ ภายหลังการคลอดบุตรในกลุ่มที่ได้รับ ibuprofen ดีกว่าในกลุ่มที่ได้รับ acetaminophen ที่ 1 ชั่วโมงของการให้ยา (ค่าเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวด 2.18 และ 2.88 ตามลำดับ, p < 0.003) ถึงแม้ว่าในชั่วโมงที่ 2, 3 และ 4 ของการให้ยา Ibuprofen ให้ผลในการลดปวดได้ดีกว่า acetaminophen แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวด; ที่ 2 ชั่ วโมง: 1.59 และ 1.97, p = 0.093; ที่ 3 ชั่วโมง: 1.08 และ 1.31, p = 0.183; และที่ 4 ชั่วโมง: 0.69 และ 0.85, p = 0.169; ตามลำดับ) ไม่พบผลข้างเคียง และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่าง 2 กลุ่มสรุป: Ibuprofen มีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บ ภายหลังการคลอดบุตรได้ดีกว่า acetaminophen ที่ 1 ชั่วโมงแรกหลังการให้ยา โดยปราศจากผลข้างเคียง แต่ให้ผลไม่ต่างกันที่หลัง 2 ชั่วโมงของการให้ยา
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, March
ปีที่: 91 ฉบับที่ 3 หน้า 282-286
คำสำคัญ
ibuprofen, Acetaminophen, Episiotomy, Prineal pain