ภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต: การศึกษาความสัมพันธ์
กรณ์ นงค์กระโทก, ลินจง โปธิบาล*, โรจนี จินตนาวัฒน์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต
การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโตที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง จำนวน 383 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วยและแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัย: ภาพสะท้อนทางความคิดของผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโตด้านลักษณะเฉพาะระยะเวลาของการเจ็บป่วย การควบคุมการเจ็บป่วยส่วนบุคคล การควบคุมการเจ็บป่วยด้วยการรักษา การเชื่อมโยงกับการเจ็บป่วย และด้านสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงอยู่ในระดับสูง คุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านความผาสุกอยู่ในระดับสูง ภาพสะท้อนทางความคิด ด้านผลที่เกิดตามมาจากการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการรบกวนการทำกิจกรรม (r =-.102, p < .05) ด้านผลที่เกิดตามมาจากการเจ็บป่วย ระยะเวลาของโรค อารมณ์ และด้านสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านความผาสุก (r = .103, .145, .128, .126, p < .05 ตามลำดับ) ส่วนภาพสะท้อนด้านลักษณะเฉพาะและสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านชีวิตทางเพศของผู้สูงอายุ ( r = -.147 -.112, p < .05 ตามลำดับ)
ข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุบางส่วนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเจ็บป่วยที่ไม่ถูกต้อง พยาบาลควรให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่อย่างถูกต้องและจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มา
Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council ปี 2563, January-March
ปีที่: 35 ฉบับที่ 1 หน้า 31-45
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, illness representation; quality of life; benign prostatic hyperplasia; older people, ภาพสะท้อนความคิดต่อความเจ็บป่วย, โรคต่อมลูกหมากโต