การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของระบบการคัดกรองโรคธาลัสซีเมียก่อนคลอด แบบตรวจคัดกรองกึ่งเร่งรัดเปรียบเทียบกับระบบปัจจุบัน
ธาม เหล่าอารยะวัฒน์, นฤมล บำรุงสวัสดิ์, ปิยเมธ ดิลกธรสกุล, พีระพล วอง, นิลวรรณ อยู่ภักดี*
ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง พิษณุโลก 65000 ประเทศไทย โทรศัพท์ +66 5596 1840 โทรสาร +66 5596 3731 อีเมลl: [email protected]
บทคัดย่อ
บทนำ : โรคธาลัสซีเมีย เป็นภาวะโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและพบอุบัติการณ์สูงในประเทศไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องได้รับการรักษาโดยการให้เลือด และยาขับธาตุเหล็กตลอดชีวิต ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพ การคัดกรองที่มีประสิทธิภาพจะช่วยควบคุมผู้ป่วยรายใหม่ได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของระบบการคัดกรองโรคธาลัสซีเมียก่อนคลอดแบบตรวจคัดกรองกึ่งเร่งรัดเปรียบเทียบกบระบบปัจจุบัน
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยโดยใช้แบบจำลองแผนภาพต้นไม้สำหรับการวิเคราะห์ตัดสินใจรวบรวมข้อมูลต้นทุน ประสิทธิผล และความน่าจะเป็นจากการทบทวนวรรณกรรมวิเคราะห์ในมุมมองผู้ให้บริการ และทำการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว
ผลการวิจัย : ต้นทุนคาดหวังสำหรับระบบการตรวจคัดกรองกึ่งเร่งรัดและระบบปัจจุบันเท่ากบ 609.29 บาท และ 462.44 บาท ตามลำดับ ผลลัพธ์คาดหวังที่จะพบเด็กในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงจากระบบการตรวจคัดกรองกึ่งเร่งรัดและระบบปัจจุบันคือ 34 คน และ 8 คน ใน 10,000 คู่ ตามลำดับอัตราส่วนต้นทุน-ประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากบ 57,499.80 บาทต่อคน
สรุป : ระบบการตรวจคัดกรองกึ่งเร่งรัดมีต้นทุนคาดหวังมากกวาระบบปัจจุบัน ่แต่สามารถพบจำนวนเด็กในครรภ์ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและจำนวนคู่เสี่ยงมากกวาระบบปัจจุบัน
 
ที่มา
รามาธิบดีเวชสาร ปี 2563, January-March ปีที่: 43 ฉบับที่ 1 หน้า 13-23
คำสำคัญ
ต้นทุน-ประสิทธิผล, screening, Thalassemia, Cost-effectiveness analysis, การคัดกรอง, โรคธาลัสซีเมีย