ประสิทธิผลของการส่องแสงแบบเข้ม 2 ด้านพร้อมกันเทียบกับการส่องแสงแบบเข้มด้านเดียวในทารกแรกเกิดตัวเหลือง
กรรณิการ์ บูรณวนิช, พยนต์ บุญญฤทธิพงษ์*, วราวุฒิ เกรียงบูรพาDepartment of Pediatrics, BMA Medical College and Vajira Hospital, Bangkok 10300, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลกระทบที่ สำคัญของการส่องแสงแบบเข้มในทารกแรกเกิดตัวเหลืองวิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในทารกแรกเกิดครบกำหนด ที่มี ภาวะตัวเหลืองที่ ไม่ได้มีสาเหตุ จากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงและระดับสารบิลิรูบินในเลือดมีค่าระหว่าง 13 -19.9 มก./ดล. แบ่งทารกที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการส่องแสงแบบเข้มด้านเดียว กลุ่มที่ 2 ได้รับการส่องแสงแบบเข้ม 2 ด้านพร้อมกัน เปรียบเทียบผลการรักษาและผลกระทบที่สำคัญโดยดูจากระดับบิลิรูบิน น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ร่างกายและจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระที่ 24 และ48 ชั่วโมงหลังการส่องแสงผลการศึกษา: มีทารกแรกเกิดตัวเหลืองที่ ทำการศึกษาทั้งสิ้น 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 ราย ปัจจัยพื้นฐานก่อนการรักษาไม่แตกต่างกันทางสถิติหลังการรักษา 24 และ 48 ชั่วโมง ระดับสารบิลิรูบินในกลุ่มที่1 ลดลง 3.5 ± 1.7 และ 6.5 ± 2.3 มก./ดล. ส่วนกลุ่มที่ 2 ลดลง 5.4 ± 2.0 และ 8.4 ± 2.1 มก./ดล. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลกระทบที่สำคัญจากการส่องแสงรักษา พบอุณหภูมิร่างกายในกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 หลังได้รับการส่องแสงรักษา 24 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระในกลุ่มที่ 1 มากกว่ากลุ่มที่ 2 หลังได้รับการส่องแสงรักษา 24 และ 48 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความแตกต่างของน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การส่องแสงแบบเข้ม 2 ด้านพร้อมกัน รักษาทารกแรกเกิดตัวเหลืองที ่ไม่ได้มีสาเหตุจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง มีประสิทธิผลในการลดระดับสารบิลิรูบินในเลือด หลังการรักษา 24 และ 48 ชั่วโมง ได้ดีกว่าการส่องแสงแบบเข้มด้านเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลกระทบที่สำคัญที่พบจากการส่องแสงแบบเข้ม 2 ด้านพร้อมกัน คืออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นหลังการรักษา 24 ชั่วโมง มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการส่องแสงแบบเข้มด้านเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, January
ปีที่: 91 ฉบับที่ 1 หน้า 50-55
คำสำคัญ
Non-hemolytic unconjugated hyperbilirubinemia, Double - surface intensive phototherapy (DsIPT), Single-surface intensive phototherapy (SsIPT)