คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการรบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
ญาณิศา สุริยะบรรเทิง*, ภควีร์ นาคะวิโร
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับกํารบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (Kidney Disease Quality of Life Short Form: KDQOL-SFTM version 1.3) ฉบับภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับกํารบำบัดทดแทนไตในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยํา มีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 71.5 ปี (Max-Min=46-93) ค่ามัธยฐานของค่าการทำงานของไต (eGFR) เท่ากับ 9.05 (Max-Min=2.50-14.92) มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับสูง (x̄  = 70.9, SD=15.4672) และเมื่อพิจารณาคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเป็นรํายบุคคล พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองมาคือระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 26.7 สรุปว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ แม้จะรักษาแบบประคับประคองโดยไม่รับการบำบัดทดแทนไต จากผลของงานวิจัยนี้อาจนำมาซึ่งการทำงานร่วมกันกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ช่วยให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้รับข้อมูลมากยิ่งขึ้น และในเชิงนโยบาย ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายแก่พยาบาลโรคไต เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับกํารดูแลประคับประคอง และบูรณาการการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างคลินิกโรคไตเรื้อรังและคลินิกดูแลประคับประคองต่อไป
 
ที่มา
วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ปี 2563, January-April ปีที่: 10 ฉบับที่ 1 หน้า 49-60
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, End-stage renal disease, คุณภาพชี่วิต, Palliative, Non-dialysis, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, ประคับประคอง, ไม่บำบัดทดแทนไต