ประสิทธิผลของโปรแกรมศิลปะบําบัดต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โรคเรื้อรังในสังคมเมือง: ชมรมผู้สูงอายุ
ญาดารัตน์ บาลจ่าย*, แสงอุษณีษ์ นวะมะรัตน, พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, สิริรัก สินอุดมผล, สุดคะนึง ดารานิษร
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อกูลการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย e-mail address: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมศิลปะบําบัดต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในสังคมเมือง วิธีดําเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอยู่ในกลุ่มโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือด สมอง และโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร จํานวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน จับคู่ในด้าน อายุ เพศ ภาวะโรคเรื้อรัง ร่วมหลายโรค และระยะเวลาที่มาพบแพทย์ตามนัด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมศิลปะบําบัด จํานวน 8 ครั้ง ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมศิลปะบําบัดและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบค่าที ผลการทดลอง: 1) ค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุหลังได้รับโปรแกรมศิลปะบําบัด (X = 99.25, SD = 7.74) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (X = 88.40, SD=8.74) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05    2) ค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมศิลปะบําบัด (X =99.25, SD = 7.74) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุกล่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของชมรมผู้สูงอายุ (X = 88.35, SD = 8.64) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุป: จากผลการศึกษานี้พบว่าโปรแกรมศิลปะบําบัดสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในสังคมเมือง ได้ดีกว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุตามปกติ
 
ที่มา
Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine ปี 2562, November-December ปีที่: 63 ฉบับที่ 6 หน้า 443-454
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, Art Therapy Program, Older Adults with Chronic Illness, Urban Area, โปรแกรมศิลปะบําบัด, สังคมเมือง