ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
สิญาภรณ์ วงศ์คร้าย, ขวัญจิตร ด่านวิไล, ธีรพล ทิพย์พยอม*ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อคุณภาพชีวิตและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบคู่ขนานในผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลกำแพงเพชร การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์ โดยมีเภสัชกรค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยากับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตาม มาตรฐานปกติของโรงพยาบาล การศึกษาสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มย่อยด้วยบัญชีสุ่มตัวอย่าง ผลลัพธ์หลัก คือ คุณภาพชีวิตโดยวัดด้วย Functional Assessment of Cancer Therapy-Breast (FACT-B) ฉบับภาษาไทย ผลลัพธ์รอง คือ อาการไม่พึงประสงค์โดยใช้เกณฑ์ Common Terminology Criteria for Adverse Events เวอร์ชั่น 4.0 (CTCAE) ติดตามผู้ป่วยจนถึงงการรักษาด้วยเคมีบำบัดรอบที่ 3 ผลการวิจัย: มีผู้เข้าร่วมการศึกษารวม 54 คน อายุเฉลี่ย 53.3 ปี โดย เป็นผู้ที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์ 7 คน และผู้ที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ 7 คน หลังได้รับยาเคมีบำบัดรอบที่ 3 พบว่า ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ก่อนพบแพทย์สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ (132.8+7.6 เทียบกับ 119.2+14.3, P<0.001) นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์เกิดอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหารน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ (ร้อยละ 0.0 เทียบกับ ร้อยละ 29.6, P=0.004 และร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 37.0, P=0.009 ตามลำดับ) สรุป: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมก่อนพบแพทย์สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาเคมีบำบัดของผู้ป่วยได้ จึงควรสนับสนุนการให้บริการดังกล่าวแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2562, October-December
ปีที่: 11 ฉบับที่ 4 หน้า 827-839
คำสำคัญ
Quality of life, chemotherapy, คุณภาพชีวิต, Breast cancer, Pharmaceutical care, ยาเคมีบำบัด, คุณภาพชี่วิต, การบริบาลทางเภสชักรรม, โรคมะเร็งเต้านม