ประสิทธิศักดิ์ในการลดระดับความปวดของยาเซเลโคซิบหลังผ่าตัด คลอดบุตรการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม
ธัญวิภา ทัศน์เจริญพร, บุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี, ปิยศักดิ์ วิทยบูรณานนท์, พสุวัฒน์ คงศีลภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดระดับความปวดของยาเซเลโคซิบขนาด 400 มิลลิกรัมในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดที่มีการวางแผน โดยใช้วิธีการระงับความรู้สึกโดยการฉีดมอร์ฟีนเข้าทางช่องไขสันหลัง
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้งสองฝ่ายและมีการควบคุมในหญิงตั้งครรภ์ครบกําาหนด 110 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี ซึ่งถูกกําาหนดให้ผ่าตัดคลอดในช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาเซเลโคซิบและกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยหญิงตั้งครรภ์ทั้ง 110 คนได้รับการติดตั้งเครื่องให้ยาแก้ปวดเพทีดีนทางหลอดเลือดดําโดยผู้ป่วยเป็นผู้ควบคุมทันทีหลังผ่าตัด และวัดระดับความปวดขณะพักและขยับร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดที่ 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการวิจัย: ระดับความปวดโดยรวมในทุกช่วงเวลาระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเซเลโคซิบและกลุ่มที่ได้รับยาหลอกลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่า p-value = 0.004) การใช้ยาเพทิดีนภายใน 24 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้รับยาเซเลโคซิบและในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p-value = 0.058)
สรุป: ยาเซเลโคซิบสามารถลดระดับความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่มา
Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine ปี 2563, May-June
ปีที่: 64 ฉบับที่ 3 หน้า 156-172
คำสำคัญ
effectiveness, post-operative pain, Celecoxib, ประสิทธิภาพ, ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด, elective cesarean delivery, การผ่าตัดคลอดที่มีการวางแผน, เซเลโคซิบ