ความปลอดภัยและความทนต่อยาของการรับประทานหอมแดงเสริมในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้: การศึกษานำร่องแบบสุ่ม
วรางคณา อาภรณ์ชยานนท์, โสรญา กลิ่นปรุง, สุจิตรา เตชะเต่ย, สุนีย์ จันทร์สกาว, ณัฐิยา หาญประเสริฐพงษ์*
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
บทคัดย่อ
ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้หอมแดงเพื่อป้องกันจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มายาวนานแต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในด้านความปลอดภัยและความทนต่อยาเพื่อสนับสนุนการใช้อย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอาการไม่พึงประสงค์ของการรับประทานหอมแดงเสริมอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ รวมถึงประเมินความปลอดภัยและความทนต่อยาเปรียบเทียบกับยาหลอก การศึกษาแบบไปข้างหน้า สุ่ม ปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุม ดำเนินการในผู้ป่วยจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จำนวน 50ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับยาเซทิริซีน 10มก. ต่อวันซึ่งเป็นยามาตรฐานในการรักษาและได้รับการสุ่มเพื่อได้รับหอมแดงชนิดแคปซูล 3กรัมต่อวัน (เทียบเท่ากับหอมแดงสด 1½หัว)หรือแคปซูลยาหลอก เป็นเวลา 4 สัปดาห์ การประเมิน complete blood counts (CBC), blood urea nitrogen (BUN), serum creatinine(Cr), aspartate aminotransferase (AST) และalanine aminotransferase (ALT)ด าเนินการก่อนและหลังรักษา การวัดสัญญาณชีพและการตรวจร่างกายด าเนินการก่อนเริ่มการศึกษาและหลังจากนั้นทุก 2สัปดาห์ การประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และความร่วมมือในการใช้ยาด าเนินการทุก 2 สัปดาห์ ความพึงพอใจของผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้visual analog scale เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ผู้ป่วย 25 รายในกลุ่มที่ได้รับหอมแดงเสริมและผู้ป่วย 22 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเข้าร่วมการวิจัยจนเสร็จสิ้น ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในด้านน้ำหนักตัวความดันเลือดอัตราหัวใจเต้น อุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ความร่วมมือในการใช้ยา ระดับCBC, BUN, Cr, ASTและALT ในเลือดและความพึงพอใจ โดยสรุปการใช้หอมแดงร่วมกับยาเซทิริซีนเป็นเวลา 4สัปดาห์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีความปลอดภัยและมีความทนต่อยาดี
 
ที่มา
วารสารเภสัชวิทยา ปี 2563, ปีที่: 41 ฉบับที่ 2 หน้า 5-15
คำสำคัญ
Safety, Tolerability, Allergic rhinitis, ความปลอดภัย, shallot, Allium ascalonicum L, ความทนต่อยา, จมูกอักเสบจากภูมิแพ้, หอมแดง