การเปรียบเทียบระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกในช่วงเวลาต่างๆ ของการผ่าตัดระหว่างการช่วยหายใจแบบ Pressure Support และ Spontaneous Ventilation ผ่านหน้ากากครอบกล่องเสียงในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดเต้านม: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
ปัญชิกา ลือตระกูล*, ปุณยนุช เจริญคุปต์, ชลวรรณ ชุ่มแจ้ง, สัณฐิติ โมรากุลภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
บทคัดย่อ
บทนำ: การช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ใช้หน้ากากครอบกล่องเสียง (laryngeal mask airway; LMA) สามารถทำได้หลายแบบ ที่นิยมมากที่สุดคือให้ผู้ป่วยหายใจเอง การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า pressure support ventilation (PSV) มีค่าเฉลี่ยของคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกต่ำกว่าการให้ผู้ป่วยหายใจเอง
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกรวมถึงค่าแรงดันในระบบหายใจในช่วงเวลาต่างๆของการผ่าตัด ระหว่างการใช้ PSV และการให้ผู้ป่วยหายใจเอง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วย 38 คน ที่เข้ารับการผ่าตัดเต้านมและช่วยหายใจขณะผ่าตัดโดยใช้ LMA-ProSeal™ แบ่งผู้ป่วย 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มช่วยหายใจโดยตั้งเครื่องช่วยหายใจแบบ PSV (กลุ่ม P) และ กลุ่มให้ผู้ป่วยหายใจเอง (กลุ่ม S) จากนั้นบันทึกค่าตัวแปรในระบบหายใจและสัญญาณชีพ
ผลการศึกษา: คาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออกไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม พบค่า peak inspiratory pressure (PIP) - positive end expiratory pressure (PEEP) ในกลุ่ม P ต่ำกว่ากลุ่ม S อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (13.32±3.51 เทียบกับ 18.89±6.33 เซนติเมตร น้ำ; P = 0.002)
สรุป: การช่วยหายใจแบบ PSV ในการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปโดยใช้ LMA-ProSeal™ มีประสิทธิผลในการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดในช่วงเวลาต่างๆ ตลอดการผ่าตัดเต้านมไม่แตกต่างกับการให้ผู้ป่วยหายใจเอง
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2563, October-December
ปีที่: 46 ฉบับที่ 4 หน้า 211-219
คำสำคัญ
laryngeal mask airway, หน้ากากครอบกล่องเสียง, end tidal carbon dioxide, pressure support ventilation, spontaneous ventilation, การช่วยหายใจแบบ pressure support, การให้ ผู้ป่วยหายใจเอง, คาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก