การฉีดยาชาในบริเวณรอยหักของกระดูกร่วมกับการฉีดยาไดอาซีแพมทางหลอดเลือดดำเทียบกับการฉีดยาชาในบริเวณรอยหักของกระดูกเพียงอย่างเดียวเพี่อระงับความเจ็บปวดระหว่างทำการดึงกระดูกเข้าที่ในผู้ป่วยกระดูกแขนส่วนปลายหัก
อรุณ วรนุช*, ธนากร ภิญโญ, ธนนิตย์ สังคมกำแหง
Department of Orthopedic Surgery, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen, Thailand; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
บทนำ: การรักษาภาวะกระดูกแขนส่วนปลายหักชนิดคอลลีส์ (Colles’  fracture) ส่วนใหญ่รักษาโดยการทำการดึงกระดูกเข้าที่ร่วมกับการใส่เฝือกซึ่งขณะทาการดึงกระดูกที่หักจะทำให้มีอาการเจ็บปวดได้ ดังนั้นการดึงกระดูกให้เข้าที่จาเป็นจะต้องมีการควบคุมอาการเจ็บปวดที่เหมาะสมวิธีการควบคุมการปวดที่สะดวกที่สุดคือการฉีดยาชาเข้าในรอยหักแต่ผู้ป่วยจะยังมีอาการปวดค่อนข้างมากมีบางการศึกษาศึกษาเกี่ยวกับการฉีดยากลุ่มไดอะซีแพมเพิ่มเติมเพื่อช่วยลดอาการปวด
วัตถุประสงค์: ศึกษาระดับความเจ็บปวดเปรียบเทียบกันระหว่าการฉีดยา intravenous  diazepam ร่วมกับการฉีดยาชา hematoma block เปรียบเทียบกับการฉีดยาชา hematoma  block เพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยกระดูกปลายแขนหักโดยวัดระดับความเจ็บปวด(pain score) ระหว่างการ closed reduction
วัสดุและวิธีการ: การทดลองแบบสุ่มควบคุมผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนมีอายุระหว่าง18 ถึง 65 ปี  ที่มีกระดูกปลายข้อมือหัก (Colles’  fracture) ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลขอนแก่นรวมตั้งแต่เดือนธันวาคม2559 ถึง ธันวาคม 2560 ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามจะได้รับการยกเว้นผู้ป่วยถูกสุ่มเป็นสองกลุ่มวัดระดับการรับรู้อาการปวด (คะแนน VAS) ก่อนและระหว่างดึงกระดูกให้เข้าที่และติดตามภาวะแทรกซ้อนผลการศึกษา: ผู้ป่วย 22 คน (หญิง 18 คนและชาย 4 คน) การวัดความเจ็บปวดทั้งก่อนการดึงกระดูกให้เข้าที่และระหว่างการดึงกระดูกให้เข้าที่ในสองกลุ่มคือผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาในบริเวณรอยหักของกระดูกร่วมกับการฉีดยาไดอาซีแพมทางหลอดเลือดดำ (Hematoma  block  combined  with  intravenous  Diazepam) และผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาชาในบริเวณรอยหักของกระดูกเพียงอย่างเดียว(hematoma block only) พบว่าความปวดทั้งก่อนการดึงกระดูกให้เข้าที่และขณะดึงกระดูกให้เข้าที่ในทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Mean difference 0.27 (-1.25-0.71), 0.21(-1.11-1.66) ตามลำดับ
สรุป: การควบคุมความความเจ็บปวดจากการดึงกระดูกแขนส่วนปลายหักชนิดคอลลีส์ (Colles’  fracture) ให้เข้าที่ด้วยการฉีดยาชาอย่างเดียว (hematoma   block   only) มีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการดึงกระดูกให้เข้าที่  เนื่องจากมีความเจ็บปวดเพียง 2.82/10 ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเจ็บปวดระดับอ่อน (mild pain)
 
ที่มา
วารสารราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ปี 2562, July-October ปีที่: 34 ฉบับที่ 3-4 หน้า 3-7
คำสำคัญ
VAS, Reduction of Closed Colles’ fracture, Hematoma block, Intravenous Diazepam