การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเดินจากการใช้ Thera-Band พันระดับเข่าและระดับสะโพกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
สุปรียา ราชสีห์*, จิตติมา แสงสุวรรณภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินเป็นสิ่งสำคัญ การประยุกต์ใช้ Thera-Band ในการช่วยเดินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีเท้าตกจึงเป็นอีกทางเลือก วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลการเดินจากการใช้ Thera-Band พันระดับเข่าและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของการเดินโดยการใช้ Thera-Band พันระดับเข่าและสะโพก
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและสลับกลุ่มในผู้ป่วย 10 ราย ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดย Wisconsin Gait Scale (WGS) และ 10- meter walk test (10MWT) จากนั้นสุ่มให้ผู้ป่วยเดินโดยการประยุกต์ใช้ Thera-Band พันระดับเข่าและสะโพกและประเมิน WGS และ 10MWT จากการพัน Thera-Band แต่ละวิธี
ผลการศึกษา: เมื่อใช้ Thera-Band พันที่ระดับเข่าค่า WGS ลดจาก 23.5 เป็น 20.4 (p = 0.016) ความเร็วในการเดินเพิ่มจาก 0.44 เป็น 0.57 เมตรต่อวินาที (p = 0.007) และความเร็วในการเดินเร็วเพิ่มจาก 0.70 เป็น 0.76 เมตรต่อวินาที (p = 0.017) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการใช้ ผู้ป่วยสามารถเดินแบบเร็วได้มากขึ้นเมื่อพันระดับเข่าเปรียบเทียบกับสะโพก (0.76 vs 0.73 เมตรต่อวินาที, p = 0.047) แต่ไม่มีความต่างของ WGS และความเร็วในการเดินปกติ
สรุป: การพัน Thera-Band ระดับเข่าและระดับสะโพกช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการเดินดีขึ้นและระดับเข่าช่วยให้ผู้ป่วยเดินเร็วได้มากกว่ากว่าระดับสะโพก
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2563, September-October
ปีที่: 35 ฉบับที่ 5 หน้า 537-544
คำสำคัญ
Rehabilitation, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, การฝึกเดิน, การเดิน, ยางยืด, Walking training, การฟืนฟูสมรรถภาพ, A stroke, Elastic Band