พฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
วิภาดา ศรีมันทยามาศ, วารุณี ฟองแก้ว, เบญจมาศ สุขสถิตย์*, พัชราภรณ์ อารีย์, ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
เมตาบอลิกซินโดรมเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพระสงฆ์ หากแต่ยังมีการศึกษา เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมค่อน ข้างจำกัด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใน พระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และ 2) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรม สุขภาพ และคุณลักษะส่วนบุคคลของพระสงฆ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ดำเนินการศึกษา ในพระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมจำนวน 260 รูปมาที่รับบริการ ณ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยในภาคเหนือของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 เครื่องมือ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถาม คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก แบบตัวแปรทำนาย 1 ตัวแปร และกรณีตัวแปรทำนายหลายตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การฉันยาและการมาตรวจตามนัดใน ระดับดี ในการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบตัวแปรทำนายหลายตัวแปร พบว่า อายุ สถานที่ตั้ง ของวัด พฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและการมีกิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพในพระสงฆ์ที่มีเมตาบอลิกซินโดรม จากตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการ ทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและการมีกิจกรรมทางกายเป็นตัวแปร ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ การพยาบาลที่มุ่งเน้นในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยเฉพาะในด้าน อาหารและการมีกิจกรรมทางกายจึงมีความสำคัญที่จะส่งเสริมให้พระสงฆ์ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
 
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2563, April-June ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 159-171
คำสำคัญ
Thailand, Health-related quality of life, คุณภาพชีวิต, Health behaviors, พฤติกรรมสุขภาพ, คุณภาพชี่วิต, Metabolic syndrome, กลุ่มอาการอ้วนลงพุง, Buddhist monks, พระสงฆ์, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม