การใช้ที่รัดหน้าท้องเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดโรคทาง นรีเวชวิทยาผ่านหน้าท้อง:การทดลองแบบสุ่ม
กรสกุล บุญเพลิง*, สมศักดิ์ ประฏิภาณวัตร, ทุมวดี ตั้งศิริวัฒนา
Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Sri-Chan Road, Muang district, Khon Kaen 40000, Thailand; E-mail: kornkulbp @gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลการใช้ที่รัดหน้าท้องเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดโรคทางนรีเวชวิทยาผ่านหน้าท้อง
วัสดุและวิธีการ:  ผู้ป่วยหญิงที่ได้รับการผ่าตัดผ่านหน้าท้องด้วยโรคทางนรีเวชวิทยาทั้งสิ้น 60 ราย ได้รับการสุ่ม เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ที่รัดหน้าท้อง และกลุ่มที่ไม่ได้รับที่รัดหน้าท้อง โดยเปรียบเทียบการเดินระยะทางตรง ภายใน 6 นาที และประเมินความปวดโดยวัดเป็นคะแนนโดยใช้ visual analogue scale ที่เวลา 6, 24 และ 48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดวันที่ 1 และ วันที่ 2 รวมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะประชากร, การวินิจฉัยหลังผ่าตัด, เลือดที่ออกขณะผ่าตัดจากเวชระเบียน
ผลการศึกษา:  พบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของระยะทางเดินอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในวันที่ 1 คิดเป็น 27 เมตร (95%CI: 0.95-54.11), p = 0.043  และวันที่ 2 คิดเป็น 71.77 เมตร (95%CI: 43.11-100.42), p < 0.001 และกลุ่มที่ใช้ผ้ารัดหน้าท้องเดินได้ระยะทางที่ไกลกว่า ระดับความปวดน้อยกว่า เคลื่อนไหวครั้งแรกได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญ และไม่พบเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
สรุป:  การใช้ที่รัดหน้าท้องช่วยเพิ่มสมรรถภาพและการเคลื่อนไหวหลังการผ่าตัดโรคทางนรีเวชวิทยาผ่านหน้าท้อง
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2564, January-February ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 10-17
คำสำคัญ
Abdominal surgery, early ambulation, abdominal binder, ที่รัดหน้าท้อง, postoperative care, การผ่าตัดเปิดช่องท้อง, การเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด, การดูแลหลังผ่าตัด