ผลการรักษาผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทระหว่างวิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อนและการบริหารหลังด้วยเทคนิคแมคเคนซี่กับวิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อน
นันทวัน ปิ่นมาศ
กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
บทคัดย่อ
                อาการปวดหลังพบบ่อยการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วย
ปวดหลังส่วนล่างจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทระหว่างวิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อนและ
การบริหารหลังด้วยเทคนิคแมคเคนซี่ (กลุ่มที่ 1) กับวิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อน (กลุ่มที่ 2)  ศึกษาในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างฯ ที่มารักษาที่งานกายภาพบําบัดโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยการจับสลาก กลุ่มละ  30 คน เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ด้วยการทดสอบ chi-square, chi-square for linear trend, Mann Whitney U และ Wilcoxon signed rank กำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า เพศอายุอาชีพระดับการศึกษาอาการแสดงคะแนนความปวดและคะแนนภาวะทุพพลภาพก่อนรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน คะแนนความปวดและคะแนนภาวะทุพพลภาพหลังการรักษาของแต่ละกลุ่มต่ำกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคะแนนความปวดและคะแนนภาวะทุพพลภาพหลังการรักษาในกลุ่มที่ 1 ต่ำกว่า
กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติคะแนนความปวดและคะแนนภาวะทุพพลภาพที่ลดลงหลังการรักษาของทั้งสองกลุ่ม ก็แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่คะแนนความปวดและคะแนนภาวะทุพพลภาพที่ลดลงหลังการรักษาของกลุ่มที่ 1 ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ 2 สรุปได้ว่า วิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อนและ
การบริหารหลังด้วยเทคนิคแมคเคนซี่ลดอาการปวดหลังส่วนล่างฯ ได้ดีกว่าวิธีดึงหลังร่วมกับประคบร้อน
 
ที่มา
พุทธชินราชเวชสาร ปี 2563, September-December ปีที่: 37 ฉบับที่ 3 หน้า 282-293
คำสำคัญ
Physical Therapy, Low back pain, อาการปวดหลังส่วนล่าง, lumbar disc herniation, herniated nucleus pulposus (HPN), McKenzie exercise, ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, การบริหารหลังด้วบเทคนิคแมคเคนซี่, การรักษาทางกายภาพบำบัด