การศึกษาผลการระงับปวดภายหลังผ่าตัดไส้เลื่อนโดยวิธี TAP block โดยอัลตราซาวด์
จันทิรา แฟงแย้ม, ฐิติรัตน์ อยู่ยั่งยืน, ไพศาล สหเมธาพัฒน์*กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลพิจิตร
บทคัดย่อ
บทนำ : Transversus Abdominis Plane (TAP) block เป็นวิธีระงับความรู้สึกเฉพาะสงวน โดยใช้ยาชาระงับความรู้สึกเสนประสาทที่รับความรู้สึกจากผนังหน้าท้อง สามารถใช้ระงับความรู้สึกในการผ่าตัดท้องส่วนล่างได้ เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการระงับปวดแบบ multimodal analgesia งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการระงับปวดโดยวิธีการฉีดยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนที่ Transversus Abdominis Plane โดยอัลตราซาวด์ ในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดไส้เลื่อน
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ prospective randomized controlled trial โดยผู้ป่วย 40 คน ที่เข้ารับการผ่าตัดไส้เลื่อน 1 ข้าง ตามตารางนัดหมาย หลังให้การระงับความรู้สึกผู้ป่วยทางช่องน้ำไขสันหลังด้วยยาชาเฉพาะที่ 0.5% heavy marcaine ปริมาณ 3.4-3.6 มิลลิลิตร แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการทำ TAP blockโดยอัลตราซาวด์ โดยใช้ยาชา 0.25% levobupivacaine 20 มิลลิลิตร กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังอย่างเดียว เก็บข้อมูลคะแนนความปวดของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 2 4 6 10 12 และ 24 ด้วย Visual Analogue Scale (VAS) เมื่อ VAS ≥ 4 ผู้ป่วยจะได้รับยาฉีดมอร์ฟีน 2 มิลลิกรัม ทุก 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลปริมาณยามอร์ฟีนที่ได้รับใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดเวลาที่ได้รับยามอร์ฟีนครั้งแรกหลังผ่าตัด อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการคันและภาวะแทรกซ้อนจากการทำ TAP block
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการทำ TAP block โดยอัลตราซาวด์ ได้รับยามอร์ฟีนที่ใช้ใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้ทำ TAP block แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.1±1.21 mg VS 4.8 ± 1.64 mg, P < 0.001) กลุ่มที่ทำ TAP block มีคะแนน VAS scores น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้ทำ TAP block แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.004 หลังผ่าตัด 2 ชั่วโมง P < 0.001 หลังผ่าตัด 4 6 10 12 24 ชั่วโมง) เวลาที่ได้รับยามอร์ฟีนครั้งแรกหลังผ่าตัดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(TAP block = 462 ± 155.05 นาที, no intervention =319.5 ± 191.82 นาที, P = 0.051) การเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการคัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ TAP block
(TAP block = 462 ± 155.05 นาที, no intervention =319.5 ± 191.82 นาที, P = 0.051) การเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการคัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ TAP block
สรุป : การทำ TAP block โดยอัลตราซาวด์ช่วยลดปริมาณยามอร์ฟีนใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดไส้เลื่อนลดอาการปวด ลดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยามอร์ฟีน โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำ TAP block
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2563, October-March
ปีที่: 35 ฉบับที่ 1 หน้า 90-100
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, postoperative analgesia, การระงับปวดหลังผ่าตัด, ultrasound-guided transversus abdominis plane block, inguinal hernia repair, การทํา TAP block โดยอัลตราซาวด์, วิธีระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ผ่าตัดไส้เลื่อน