ผลการบริโภคนมอัลมอนด์สกัดเย็นต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้มีน้ำหนักเกินและอ้วน
ฉัตรภา หัตถโกศล*, มนีรัตน์ เตชะวิเชียร, ญาณิศา ทับเจริญ, สุวิมล ทรัพย์วโรบล, เนตรนภา อุ่นที, พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้าภาควิชาโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
โรคอ้วนและน้ำหนักเกินน้าไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ในผู้ที่อ้วนปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายจะต่ำกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ เนื่องจากปริมาณไขมันที่สะสมมากบริเวณกลางลำตัว การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติสามารถเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดได้จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ อัลมอนด์จัดเป็นถั่วเปลือกแข็งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก โพลีฟีนอล รวมทั้งฟลาโวนอยด์ กระบวนการผลิต
นมอัลมอนด์ร่วมกับกรรมวิธีสกัดเย็นและฆ่าเชื้อด้วยแรงดันสูงช่วยรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ ดังนั้นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบริโภคนมอัลมอนด์สกัดเย็นเทียบกับนมชนิดต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized control trial, parallel study ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจ้านวน 62 คน ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้รับนมวัวผ่านความร้อน นมอัลมอนด์ผ่านความร้อน นมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น นมอัลมอนด์สกัดเย็น และนมถั่วเหลืองผ่านความร้อน ทุกกลุ่มดื่มนมทุกวัน วันละ 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลโดยการตรวจค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดด้วยวิธี oxygen radical absorbance capacity(ORAC) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) ในสัปดาห์ที่ 0 และ 4 ผลการศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มที่บริโภคนมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น และนมอัลมอนด์สกัดเย็นมีค่า ORAC เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่า FRAP ทั้ง 5 กลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าหลังการทดลองกลุ่มที่บริโภคนมสกัดเย็นทั้ง 2 ชนิด มีค่า ORAC สูงกว่ากลุ่มที่บริโภคนมผ่านความร้อน 3 ชนิด ดังนั้นการบริโภคนมสกัดเย็นสามารถเพิ่มค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดของผู้มีน้ำหนักเกินและอ้วนได้
นมอัลมอนด์ร่วมกับกรรมวิธีสกัดเย็นและฆ่าเชื้อด้วยแรงดันสูงช่วยรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ ดังนั้นวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของบริโภคนมอัลมอนด์สกัดเย็นเทียบกับนมชนิดต่าง ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized control trial, parallel study ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจ้านวน 62 คน ถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้รับนมวัวผ่านความร้อน นมอัลมอนด์ผ่านความร้อน นมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น นมอัลมอนด์สกัดเย็น และนมถั่วเหลืองผ่านความร้อน ทุกกลุ่มดื่มนมทุกวัน วันละ 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลโดยการตรวจค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดด้วยวิธี oxygen radical absorbance capacity(ORAC) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) ในสัปดาห์ที่ 0 และ 4 ผลการศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มที่บริโภคนมมะม่วงหิมพานต์และข้าวโอ๊ตสกัดเย็น และนมอัลมอนด์สกัดเย็นมีค่า ORAC เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนค่า FRAP ทั้ง 5 กลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบก่อนและหลังการทดลอง สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าหลังการทดลองกลุ่มที่บริโภคนมสกัดเย็นทั้ง 2 ชนิด มีค่า ORAC สูงกว่ากลุ่มที่บริโภคนมผ่านความร้อน 3 ชนิด ดังนั้นการบริโภคนมสกัดเย็นสามารถเพิ่มค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในเลือดของผู้มีน้ำหนักเกินและอ้วนได้
ที่มา
KKU Journal of Public Health Research ปี 2563, October-December
ปีที่: 13 ฉบับที่ 4 หน้า 41-49
คำสำคัญ
อ้วน, Almond Milk, Antioxidant Capacity, Obese Adults, นมอัลมอนด์, การต้านอนุมูลอิสระ