การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลเกาะลันตาโดยวิธีวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม
วันชัย อินทอง*, กุลจิรา อุดมอักษรกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลเกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 81150
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการโดยวิธีอิงกิจกรรมของโรงพยาบาลเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่ใช้ข้อมูลการให้บริการย้อนหลังในปีงบประมาณ 2560 (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560) โดยดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
1) การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมจากบริการของโรงพยาบาล 2) การระบุชนิดของต้นทุนตามกิจกรรม และ 3) การคำนวณต้นทุนบริการและต้นทุนต่อหน่วยบริการ ตามลำดับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการเก็บข้อมูลบริการและกิจกรรม บัญชีค่าแรง บัญชีภาระงาน/เวลาบัญชีวัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง บันทึกค่าเสื่อมราคา และค่าสาธารณูปโภค ผลการวิจัย: บริการหลักที่มีต้นทุนต่อหน่วยบริการสูงสุดคือ บริการผู้ป่วยใน (2,176บาท/วันนอน) รองลงมา คือ บริการผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ (717บาท/ครั้ง) นอกเวลาราชการ (704 บาท/ครั้ง)) และบริการส่งเสริมและป้องกัน (257บาท/ครั้ง) ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการกับรายได้ พบว่า บริการส่วนใหญ่มีต้นทุนสูงกว่ารายได้ มีเพียง 3บริการที่มีต้นทุนต่ำกว่ารายได้ ได้แก่ บริการแพทย์แผนไทย บริการกายภาพบำบัดและฟื้นฟู และบริการคลินิก
ทันตกรรม การจำแนกต้นทุนตามประเภทพบว่า ต้นทุนค่าแรงมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 64.10ของต้นทุนทั้งหมด) รองลงมาคือ ต้นทุนวัสดุ (ร้อยละ 23.05)และ ต้นทุนปันส่วน (ร้อยละ 12.85) ตามลำดับ กิจกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดของการให้บริการส่วนใหญ่ คือ กิจกรรมบริการเภสัชกรรม โดยมีค่ายาเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ และบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยมีค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นต้นทุนส่วนใหญ่
สรุป: โรงพยาบาลควรกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง ดังนี้ 1) การลดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ต้นทุนค่าแรง โดยพิจารณาเวรนอกเวลาราชการให้เหมาะสม ควบคุมต้นทุนค่าวัสดุ ใช้ยาและวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างสมเหตุผล 2) การเพิ่มรายได้ โดยเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย ทันตกรรม และกายภาพบำบัดและฟื้นฟูในผู้รับบริการสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ ผู้ที่ชำระเงินเอง และผู้มีสิทธิประกันสังคม
1) การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมจากบริการของโรงพยาบาล 2) การระบุชนิดของต้นทุนตามกิจกรรม และ 3) การคำนวณต้นทุนบริการและต้นทุนต่อหน่วยบริการ ตามลำดับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการเก็บข้อมูลบริการและกิจกรรม บัญชีค่าแรง บัญชีภาระงาน/เวลาบัญชีวัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง บันทึกค่าเสื่อมราคา และค่าสาธารณูปโภค ผลการวิจัย: บริการหลักที่มีต้นทุนต่อหน่วยบริการสูงสุดคือ บริการผู้ป่วยใน (2,176บาท/วันนอน) รองลงมา คือ บริการผู้ป่วยนอก (ในเวลาราชการ (717บาท/ครั้ง) นอกเวลาราชการ (704 บาท/ครั้ง)) และบริการส่งเสริมและป้องกัน (257บาท/ครั้ง) ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการกับรายได้ พบว่า บริการส่วนใหญ่มีต้นทุนสูงกว่ารายได้ มีเพียง 3บริการที่มีต้นทุนต่ำกว่ารายได้ ได้แก่ บริการแพทย์แผนไทย บริการกายภาพบำบัดและฟื้นฟู และบริการคลินิก
ทันตกรรม การจำแนกต้นทุนตามประเภทพบว่า ต้นทุนค่าแรงมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 64.10ของต้นทุนทั้งหมด) รองลงมาคือ ต้นทุนวัสดุ (ร้อยละ 23.05)และ ต้นทุนปันส่วน (ร้อยละ 12.85) ตามลำดับ กิจกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดของการให้บริการส่วนใหญ่ คือ กิจกรรมบริการเภสัชกรรม โดยมีค่ายาเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ และบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยมีค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นต้นทุนส่วนใหญ่
สรุป: โรงพยาบาลควรกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง ดังนี้ 1) การลดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ต้นทุนค่าแรง โดยพิจารณาเวรนอกเวลาราชการให้เหมาะสม ควบคุมต้นทุนค่าวัสดุ ใช้ยาและวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างสมเหตุผล 2) การเพิ่มรายได้ โดยเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย ทันตกรรม และกายภาพบำบัดและฟื้นฟูในผู้รับบริการสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ ผู้ที่ชำระเงินเอง และผู้มีสิทธิประกันสังคม
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2564, January-March
ปีที่: 13 ฉบับที่ 1 หน้า 214-227
คำสำคัญ
Unit cost, Community hospital, โรงพยาบาลชุมชน, ต้นทุนต่อหน่วยบริการ, activity-based costing, ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม