การใช้ยา Etoricoxib รับประทานเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการขูดมดลูกแบบแยกส่วน:การศึกษาชนิดสุ่ม
จิตรดา คงประเสิรฐ, ณัฐพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, วิไลพร พิทยาเวชวิวัฒน์*, เฉลิมศรี ธนันตเศรษฐ
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Rama IV Rd, Rachatavee, Bangkok 10400, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการลดความเจ็บปวดระหว่างกลุ่มที่ ได้ยา etoricoxib และกลุ่มที่ได้ยา placebo ร่วมกับการทำ paracervical block ในผู้ป่วยที่ทำการขูดมดลูกแบบแยกส่วนวัสดุและวิธีการ: ศึกษาแบบ double-blind, randomized controlled trial ในผู้ป่วยที่ทำการขูดมดลูกแบบแยกส่วน 220 ราย ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 – มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่ม โดยกลุ่มที่หนึ่งได้ยา etoricoxib (90mg) จำนวน 110 ราย และกลุ่มที่สองได้ยา placebo จำนวน 110 ราย ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับ paracervical block เพื่อระงับปวดร่วมด้วย ผู้ป่วยประเมินความเจ็บปวด โดยใช้verbal pain rating scale ประเมิน 4 ช่วงเวลา ภายหลังการใส่ speculum, ขณะขูดมดลูก, ภายหลังการขูดมดลูกทันที และภายหลังการขูดมดลูก 30 นาทีผลการศึกษา: ข้อมูลผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่เกี่ยวกับอายุ, ประวัติคลอดบุตรทางช่องคลอด และประวัติเคยขูดมดลูกมาก่อน ไม่มีความแตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม สำหรับข้อบ่งชี้ในการขูดมดลูกที่พบมากที่สุดในทั้งสองกลุ่มได้แก่ menometrorrhagia คะแนนความเจ็บปวด ในกลุ่มที่ได้ยา etoricoxib ต่ำกว่า กลุ่มที่ได้ยา placebo อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการขูดมดลูก (5 และ6, p = 0.04), ทันทีภายหลังขูดมดลูก (2และ3, p = 0.009) และ 30 นาทีภายหลังขูดมดลูก (0และ1, p = 0.003) และพบจำนวนผู้ป่วยที ่ระดับความเจ็บปวดอยู่ใน mild pain (score 0-3) ในกลุ่มที่ได้รับยา etoricoxib มากกว่ากลุ่ ม placeboในช่วงเวลา ระหว่างการขูดมดลูก(39,20 ราย), ทันทีภายหลังขูดมดลูก (78,60ราย) และ 30 นาทีภายหลังขูดมดลูก (107,100 ราย) อย่างมีนัยสำคัญสรุป: การใช้ยา etoricoxib ร่วมกับ paracervical block ในผู้ป่วยที่ทำการขูดมดลูกแบบแยกส่วน สามารถลด ความเจ็บปวดได้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยา placebo ร่วมกับ paracervical block โดยระดับความเจ็บปวดอยู่ในระดับไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งอาจจะไม่มีความแตกต่างกันในทางคลินิก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, June ปีที่: 90 ฉบับที่ 6 หน้า 1053-1057
คำสำคัญ
Fractional curettage, Paracervical block, Etoricoxib, Verbal rating scale