การเปรียบเทียบผลข้างเคียงผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสี แบบสั้น (hypofractionated radiotherapy) กับการฉายรังสีแบบปกติ (conventional radiotherapy) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดเต้านมทั้งเต้า
สวนีย์ นิรันดร์ศิริผลงานรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลข้างเคียงผิวหนังอักเสบ ระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสีแบบสั้น (hypofractionated radiotherapy; HFRT) กับการฉายรังสีแบบปกติ (conventional radiotherapy ;CRT) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการ ผ่าตัดเต้านมทั้งเต้า
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (randomized con- trolled trial) โดยสุ่มแบบปกปิดในกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วย มะเร็งเต้านมที่ผ่าตัดทั้งเต้าทั้งหมด 76 ราย โดยแบ่งผู้ป่วยออก เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มฉายรังสีแบบสั้น (HFRT) ปริมาณ รังสี 42.56 เกรย์ ใน 16 ครั้ง วันละครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จำนวน 38 ราย กลุ่มที่ 2 ฉายรังสีแบบปกติ (CRT) ปริมาณ รังสี 50 เกรย์ ใน 25 ครั้ง วันละครั้งเป็นเวลา 5 สัปดาห์ จำนวน 38 ราย การศึกษานี้ทำที่งานรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรง พยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง วัน ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 ทุกรายจะได้รับการประเมินระดับ ของการอักเสบผิวหนังระยะเฉียบพลัน สัปดาห์ที่ 1, 2 และ 3 ในระหว่างการฉายรังสี ที่1เดือน และ 3 เดือนหลังการได้รับการ ฉายรังสีโดยแพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โดยใช้สถิติเชิง พรรณนาและ สถิติ Z-test ในการวิเคราะห์มูล โดยกำหนดระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05
ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบการเกิดผิวหนังอักเสบระยะ เฉียบพลันจากการฉายรังสีทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในช่วงระหว่างการฉาย รังสีและหลังการฉายรังสีพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ผลการเกิดผิวหนังอักเสบเกรด1 เปรียบเทียบ ระหว่างการฉายรังสีแบบปกติกับการฉายรังสีแบบสั้น สัปดาห์ ที่ 1,2 และ 3 พบร้อยละ 5.26 และ 7.89 (p= 0.644), ร้อยละ 28.95 และ 18.42 (p= 0.280), ร้อยละ 50 และ 28.95 (p=0.085) ตามลำดับ ที่ 1 เดือนหลังการฉายรังสีเปรียบเทียบการเกิดผิวหนังอักเสบเกรด 1 พบ ร้อยละ 15.79 และ 10.53 (p=0.301) ของการฉายรังสีแบบปกติกับการฉายรังสีแบบสั้น ในการศึกษานี้พบผู้ป่วยเกิดผิวหนังอักเสบโดยส่วนใหญ่ทั้งสอง กลุ่มร้อยละ 92.11 ในกลุ่มฉายปกติ และร้อยละ 65.79 ในกลุ่ม ฉายแบบสั้น ผิวหนังอักเสบมากกว่าหรือเท่ากับเกรด 2 เกิดค่อน ข้างน้อย
สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลข้างเคียงผิวหนัง อักเสบระยะเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉาย รังสีแบบสั้น (42.56 เกรย์ ใน 16 ครั้ง) ให้ผลไม่แตกต่างจากผู้ ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฉายรังสีแบบปกติ (50 เกรย์ ใน 25 ครั้ง) และการฉายรังสีแบบสั้นยังช่วยลดระยะเวลาในการ รักษา ลดค่าใช้จ่ายและสะดวกในการเข้ามารับการรักษามากขึ้น
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2563, January-February
ปีที่: 36 ฉบับที่ 1 หน้า 15-23
คำสำคัญ
Radiotherapy, Breast cancer, รังสีรักษา, มะเร็งเต้านม, acute radiation dermatitis, hypofractionated, ผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสี