คุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ
ศุภกฤษฎิ์ กิจภากรณ์Aranyaprathet hospital, Sa Kaeo Province
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกหัก และได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในโรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) วิธีกระตุ้นให้ยืนเดินหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก 2) วิธีกระตุ้นให้ยืนเดินหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ภายใน 48 ชั่วโมง และ 3) แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต(QOL) และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (ADL) ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษากระดูกสะโพกหักหลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน
ผลการติดตามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หลังจากได้รับการผ่าตัด 6 เดือน ในมิติทางสุขภาพ พบว่า คะแนนอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพ (mean utility index) เท่ากับ 0.838 และผลการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยด้วย ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึ่งตนเองได้ ร้อยละ 90.62 เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก กับผลการกระตุ้นให้ยืนเดินหลังการผ่าตัดสำเร็จหลัง 48 ชั่วโมง มีค่าอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพ (mean utility index) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) และมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (Barthel ADL index) สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
สรุป : ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีระยะ 6 เดือนหลังผ่าตัด และการกระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกยืนเดินหลังผ่าตัดได้สำเร็จภายใน 48 ชั่วโมง เป็นปัจจัยที่มีคุณประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย
ที่มา
Chaiyaphum Medical Journal ปี 2563, December
ปีที่: 40 ฉบับที่ 2 หน้า 44-55
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, early ambulation, Acitvity of daily living, hip fracture surgery, ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง, ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก, กระตุ้นให้ยืนเดิน