ผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรมที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
พรทิพย์ ศุกรเวทย์ศิริกลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย 32000
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ปัญหาที่พบมากคือ โรคปริทันต์ ฟันผุ และการสูญเสียฟัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพและผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยการตรวจช่องปาก และสัมภาษณ์ จำนวน ผู้สูงอายุ 205 คน โดยใช้ดัชนีสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (OHIP-49) ครอบคลุมทั้ง 7 หมวด คือความ
จำกัดการทำหน้าที่ ความเจ็บปวดทางกายภาพ ความ รู้สึกไม่สบายทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางกายภาพ การสูญเสียความสามารถ ทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางสังคม และความด้อยโอกาสทางสังคม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ Chi-square Test (p<0.05)
จำกัดการทำหน้าที่ ความเจ็บปวดทางกายภาพ ความ รู้สึกไม่สบายทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางกายภาพ การสูญเสียความสามารถ ทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางสังคม และความด้อยโอกาสทางสังคม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ Chi-square Test (p<0.05)
ผลการศึกษา: พบว่า มีฟันผุร้อยละ 67.8 ค่าเฉลี่ย ฟันผุถอนอุดเท่ากับ 12.1 ซี่/คน มีการสูญเสียเหงือก
ยึดระดับรุนแรง ร้อยละ 81.5 มีสภาวะฟันสึก ร้อยละ 62 ผลกระทบของสภาวะทันต สุขภาพต่อคุณภาพชีวิตมีค่าคะแนนเฉลี่ย OHIP-49 เท่ากับ 55.49+20.73 ความสัมพันธ์ ของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ที่ค่าคะแนน OHIP-49 สูงกว่าค่าเฉลี่ย มีความสัมพันธ์กับจำนวนสภาวะฟันสึก การเคยมีอาการฟันผุ การเคยมี อาการเหงือกบวม การเคยมีก้อนหรือแผลในปาก สภาวะอนามัยช่องปากที่ไม่ดี และการ ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
ยึดระดับรุนแรง ร้อยละ 81.5 มีสภาวะฟันสึก ร้อยละ 62 ผลกระทบของสภาวะทันต สุขภาพต่อคุณภาพชีวิตมีค่าคะแนนเฉลี่ย OHIP-49 เท่ากับ 55.49+20.73 ความสัมพันธ์ ของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ที่ค่าคะแนน OHIP-49 สูงกว่าค่าเฉลี่ย มีความสัมพันธ์กับจำนวนสภาวะฟันสึก การเคยมีอาการฟันผุ การเคยมี อาการเหงือกบวม การเคยมีก้อนหรือแผลในปาก สภาวะอนามัยช่องปากที่ไม่ดี และการ ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
สรุปผลการศึกษา: สภาวะทันตสุขภาพมีผลกระทบของต่อคุณภาพชีวิตในทุกมิติได้แก่ ด้านความจำกัดการ ทำหน้าที่ความเจ็บปวดทางกายภาพ ความรู้สึก ไม่สบายทางจิตใจ การสูญเสียความ สามารถทางกายภาพการสูญเสียความสามารถทางจิตใจ การสูญเสีย ความสามารถทาง สังคม และความด้อยโอกาสทางสังคม
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2563, May-August
ปีที่: 35 ฉบับที่ 2 หน้า 461-470
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, Impact of Dental Health on Quality of Life, Oral Health Index, ผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิต, ดัชนีสุขภาพช่องปาก