เปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้ยาDiazepamทางปากกับทางหลอดเลือดเลือดดำในผู้ป่วยภาวะถอนแอลกอฮอล์
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย 32000
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะเจ็บคอหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปใน 24 ชั่วโมง เป็นอุบัติการณ์ ภาวะแทรกซ้อน ที่พบมากเป็นอันดับ 1 และอัตราการเกิดคิดเป็นร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปด้วยท่อช่วยหายใจ
วิธีการศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบผลของการทายาไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ กับเจลชนิดละลายน้ำได้ บนอุปกรณ์ส่องกล่องเสียงต่อการลดอุบัติการณ์เจ็บคอหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ด้วยท่อช่วยหายใจ
วัตถุประสงค์: ศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้า อำพราง 2 ฝ่าย ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปี ASA class I และ II ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปด้วยท่อช่วยหายใจแบบไม่เร่งด่วน ตั้งแต่ 30 นาที ถึง 240 นาที สุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 58 ราย ได้รับการ ทายาไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนค์ เทียบกับกลุ่มควบคุมจำนวน 59 ราย ได้รับเจลชนิด ละลายนา ที่ถูกทาบนอุปกรณ์ส่องกล่องเสียง ทำการติดตามอุบัติการณ์เจ็บคอหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ที่ 1 และ 24 ชั่วโมง
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยในการทดลองคือ 117 คน พบอุบัติการณ์เจ็บคอ ในกลุ่มทดลองน้อยกว่า กลุ่มควบคุมที่ 24 ชั่วโมง (ร้อยละ 31.0 VS ร้อยละ 42.4; p=0.203 ) และอุบัติการณ์ เจ็บคอที่ 1 ชั่วโมง (ร้อยละ 32.8 VS ร้อยละ 34.0; p=0.896) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อุบัติการณ์เจ็บคอจำแนกตามระดับความรุนแรงที่ 1 และ 24 ชั่วโมง พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: การทายาไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์ ที่อุปกรณ์ส่องกล่องเสียงไม่มีผลลดอุบัติการณ์ เจ็บคอหลังการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปด้วยท่อช่วยหายใจที่ 24 ชั่วโมง
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2563, September-December
ปีที่: 35 ฉบับที่ 3 หน้า 643-650
คำสำคัญ
Diazepam, alcohol withdrawal, ไดอะซีแพม, ภาวะถอนแอลกอฮอล์