การศึกษาเปรียบเทียบการระงับปวดด้วยการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำอย่างเดียวกับการใช้ร่วมกับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังในการระงับปวดหลังการผ่าตัดไต
ปิยะพร บุญแสงเจริญ, พลพันธ์ บุญมาก, วิริยา ถิ่นชีลอง, สมยงค์ ศรีชัยปัญหา, สุหัทยา บุญมาก*Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. Phone & Fax: 043-348-390, E-mail:[email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังร่วมกับการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ ในการช่วยลดการใช้ยาระงับปวด ความรุนแรงของการปวด และเพิ่ มความพึงพอใจของผู้ป่วยในการระงับปวดวัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดไตที่มีแผลที่สีข้าง ผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็นบล็อคสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มได้ รับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังร่วมกับการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะได้รับยามอร์ฟีน 0.3 มก.ทางช่องไขสันหลัง และกลุ่มที่ใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการวางยาสลบตามมาตรฐาน ภายหลังการผ่าตัดจะได้รับการควบคุมความปวดด้วยเครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ และทำการเก็บข้อมูลปริมาณยามอร์ฟีนที่ใช้ ค่าคะแนนความปวดขณะพักและขณะไอ (ค่าคะแนน 0-10) อาการง่วงซึม อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการคันตามช่วงเวลาที่กำหนด (1, 2, 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด) และ ที่เวลา 48 ชั่วโมงทำการบันทึกความพึงพอใจของผู้ป่วยในการระงับปวดผลการศึกษา: ทำการศึกษาผู้ป่วย 80 ราย พบว่ากลุ่มที่ได้รับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังร่วมกับการใช้เครื่องควบคุมความปวด ด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำมีการใช้ยามอร์ฟีนสะสมและค่าคะแนนความปวดขณะพักและขณะไอน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่พบมีอาการคันสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยที่ อาการง่วงซึม อาการคลื่นไส้อาเจียน และความพึงพอใจของผู้ป่วยในการระงับปวดไม่แตกต่างกัน (p = 0.055)สรุป: การใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำร่วมกับยามอร์ฟีนทางช่องไขสันหลังในการระงับปวดหลังผ่าตัดไตสามารถลดการใช้ยามอร์ฟีนสะสมและทำให้ควบคุมความปวดได้ดีขึ้นกว่าการใช้เครื่องให้ยาระงับปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วยในการระงับปวดได้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, June
ปีที่: 90 ฉบับที่ 6 หน้า 1143-1149
คำสำคัญ
Postoperative, morphine, Intrathecal analgesia, Pain therapy, Patient-controlled analgesia, Urological surgery