ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดต่ออาการหายใจลำบากความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและความวิตกกังวลของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อรสา ปิ่นแก้ว, วารี กังใจ*, สหัทยา รัตนจรณะสาขาวิชาพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัดต่ออาการ หายใจลำบาก ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และความวิตกกังวล กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับ การรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล 1 เดือน เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมิน อาการหายใจลำบาก เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และแบบสัมภาษณ์ความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการหายใจลำบาก และค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลในระยะ หลังการทดลองและระยะติดตามผลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และค่าเฉลี่ยคะแนน ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับสมาธิบำบัด ไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการหายใจลำบาก เพื่อบรรเทาจากอาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล และเพิ่มระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ที่มา
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2564, April-June
ปีที่: 29 ฉบับที่ 2 หน้า 59-70
คำสำคัญ
Anxiety, ความวิตกกังวล, Dyspnea, ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการหายใจลำบาก, Oxygen saturation, Older people with COPD, symptom management program, ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด, โปรแกรมการจัดการกับอาการ