ผลของการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้างและการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพปอดในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด
กฤษณา บุญล้ำ, สุวิมล โรจนาวี, สุพิชญา พจน์สุภาพ, ยิหวา สุขสวัสดิ์, วรรณพร ทองตะโก*คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจแบบหายใจ เข้าสูงสุดและคงค้างและการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพ ปอดในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด
วิธีดำ เนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนที่ เป็นโรคหืด ที่มาใช้บริการ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อายุระหว่าง 7-12 ปี เพศชายและหญิงที่มีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน แบ่ง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและ คงค้าง และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจด้วยการเป่า ลูกโป่ง โดยแต่ละกลุ่มทำ การฝึกหายใจในวันจันทร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ที่บ้าน รวม 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อน และหลังการทดลองทำการทดสอบข้อมูลด้านสรีรวิทยา และตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด จากนั้นนำ มา วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าที แบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบ อิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัย หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ไม่พบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำ หนักตัว ส่วนสูง อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความ ดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และคลายตัว เปรียบเทียบ กับก่อนการทดลองและระหว่างกลุ่ม นอกจากนั้น กลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง มีค่า ปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและ แรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาที แรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่า อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด และค่า ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ใน เวลา 1 นาที เพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของกลุ่มที่ได้ รับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง มีค่า ปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ใน เวลา 1 นาที ค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าทั้งสองกลุ่มมีค่า เฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดไม่แตกต่างกัน
สรุปผลการวิจัย การฝึกหายใจด้วยการเป่า ลูกโป่งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ส่งผลดีต่อการเพิ่ม สมรรถภาพปอดในเด็กวัยเรียนโรคหืดเมื่อเปรียบเทียบ กับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง
ที่มา
๋Journal of Sports Science and Health ปี 2564, January-April
ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 103-119
คำสำคัญ
Asthma, โรคหืด, Pulmonary function, สมรรถภาพปอด, school-age children, เด็กวัยเรียน, Balloon-blowing breathing exercise, Sustain maximum inspiration; SMI, การฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง, การฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง