ประสิทธิผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาร่วมกับการควบคุมอาหารก่อนการผ่าตัดในผู้สูงอายุรอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม: การศึกษาทดลองแบบสุ่ม
จินตนา ฤทธารมย์, สุภาพ อารีเอื้อ*, พรทิพย์ มาลาธรรม, พิศสมัย อรทัย, Basia Belza, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิทโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมักเผชิญกับความทุกข์ทรมาน จากอาการปวดและการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรม การศึกษาทดลองแบบสุ่มตัวอย่าง เปรียบเทียบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาร่วมกับ การควบคุมอาหารก่อนการผ่าตัด ต่อการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและ การควบคุมอาหาร ดัชนีมวลกาย ความปวด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา การเคลื่อนไหว และคุณภาพ ชีวิต ในผู้สูงอายุที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 96 คนได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 48 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาร่วมกับการควบคุม อาหารก่อนการผ่าตัด และการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้ความสามารถตนเอง แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข เครื่องมือวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เครื่องมือวัดองศาการเคลื่อนไหวข้อ การทดสอบความสามารถ ในการเคลื่อนไหว และแบบประเมินคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ที่มีข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองทาง และแบบตัวแปรตามหลายตัวแปร
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาร่วมกับการควบคุม อาหารก่อนการผ่าตัด มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและการควบคุมอาหาร เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 2, 8, และ 12 อีกทั้งกลุ่มทดลองมี ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา องศาการงอข้อเข่า ความสามารถในการเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มควบคุมที่สัปดาห์ที่ 8 และ 12 แม้ดัชนีมวลกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อ ต้นขาร่วมกับการควบคุมอาหารก่อนการผ่าตัด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ โรคข้อเข่าเสื่อมระหว่างรอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2563, October-December
ปีที่: 24 ฉบับที่ 4 หน้า 485-501
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Total knee arthroplasty, ผู้สูงอายุ, Health outcomes, self-efficacy, การควบคุมอาหาร, คุณภาพชี่วิต, older adults, เปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การผ่าตัด, Muscle strength, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, Diet control, Preoperative program, Quadriceps exercise, Waiting lists, การบริหารกล้ามเนื้อต้นขา, ผลลัพธ์ทางสุขภาพ, โปรแกรมการดูแลก่อนผ่าตัด, การรับรู้ความสามารถตนเอง, การรอผ่าตัด