ผลของการใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาต่อการสื่อสารระหว่างเภสชักรกับผู้ป่วยและความพึงพอใจของผู้ป่วย
ปิยพร ใจซื่อ, พรรณทิพา ศักดิ์ทอง*ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารเรื่องคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาในผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามมาตรฐานปกติของโรงพยาบาล กับผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการใช้แบบสอบถามPatient-Reported Outcome Measure of Pharmaceutical Therapy Quality of life (PROMPT-QoL) และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มต่อการใช้แบบสอบถาม PROMPT-QoL วิธีการ: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมครั้งนี้ท าในผู้ป่วยนอกโรคเรื้อรัง 286 คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2563 การศึกษาแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาแบบสอบถาม PROMPT-QoL เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา และเป็นเครื่องมือช่วยในการบริบาลทางเภสัชกรรม มีจำนวน 43 ข้อ แบ่งเป็น 9 มิติ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลครั้งที่ 1โดยการบันทึกเสียงการสื่อสารเรื่องคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาระหว่างการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม และนำมาประเมินเป็นคะแนนการสื่อสารฯ สำหรับความพึงพอใจต่อการใช้แบบสอบถาม PROMPT-QoLประเมินโดยคำถาม 4 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยเก็บข้อมูลนี้เมื่อผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ในนัดถัดไป ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีคะแนนการสื่อสารคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งคะแนนรวมและคะแนนในมิติที่ 2-9 (P < 0.001) กลุ่มศึกษามีความพึงพอใจด้านประโยชน์ในการดูแลการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P= 0.024) สรุป: แบบสอบถาม PROMPT-QoL จัดเป็นแบบประเมินผลลัพธ์ที่รายงานโดยผู้ป่วยที่ดีในการกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์มีการสื่อสารทางด้านคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยากับผู้ป่วยมากขึ้น และยังเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยในการใช้เพื่อดูแลการใช้ยา
ที่มา
วารสารเภสัชกรรมไทย ปี 2564, July-September
ปีที่: 13 ฉบับที่ 3 หน้า 785-802
คำสำคัญ
SATISFACTION, ความพึงพอใจ, Pharmaceutical care, การบริบาลทางเภสัชกรรม, PROMPT-QoL, คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา, medicine therapy-related quality of life, communication, การสื่อสาร