บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: clozapine เป็นยารักษาจิตเภทกลุ่มา atypical ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ในคลินิกจิตเวชทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันยาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาจากผู้ผลิตหลายบริษัท ดังนั้นเพื่อประกันถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาสามัญที่จำหน่ายในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเปรียบเทียบชีวสมมูลของยาระหว่างตำรับทดสอบและตำรับอ้างอิงวัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาว่ายาเตรียม clozapine 2 ตำรับคือ Clozapin® (บริษัทฟาร์มาสันต์แลบบอราตอรีส์จำกัดประเทศไทย) และ Clozaril® (บริษัทโนวาร์ตีส สหราชอาณาจักร) มีชีวสมมูลกันหรือไม่ เมื่อให้ผู้ป่วยจิตเภทรับประทานในขนาด 100 มก. ทุก 12 ชม. ติดต่อกันจนระดับยาอยู่ในสถานะคงตัว (Steady state) รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบสุ่มไขว้สลับ ภายใต้สภาวะไม่ต้องอดอาหารโดยใช้ยาติดต่อกันหลายครั้ง ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประชากรที่ศึกษา: อาสาสมัครชายไทยที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทจำนวน 18 รายวิธีการวิจัย: อาสาสมัครทุกคนได้รับยา Clozapin® หรือ Clozaril® ในขนาด 100 มก. ทุก 12 ชม. ติดต่อกัน เป็นเวลานาน 7 วัน เมื่อระดับยาเข้าสู่ภาวะสถานะคงตัวแล้ว อาสาสมัครจะได้รับยา clozapine 100 มก. หลังอาหารเช้า 2 ชม. เก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำที่แขนที่เวลา 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 4, 6, 8, 10 และ 12 ชม. หลังรับประทานยา ตัวอย่างเลือดนำไปแยกพลาสม่าและเก็บไว้ที่ -80๐C วิเคราะห์ระดับยา clozapine ในพลาสม่าโดยวิธี high performance liquid chromatography จากนั้นคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์จากระดับยาในเลือดในช่วงเวลาต่างๆ โดยพารามิเตอร์ที่ใช้เพื่อติดสินความเท่าเทียมกันทางชีวสมมูลของทั้งสองตำรับ ได้แก่ อัตราส่วนของค่าความเข้มข้นของยาสูงสุดในพลาสม่า (Cmax) และพื้นที่ใต้เส้นกราฟระหว่างระดับยาในพลาสม่ากับเวลาที่เวลา 0 ถึง 12 ชม. (AUC 0-12)ผลการวิจัย: อาสาสมัครทุกคนสามารถทนต่อยา clozapine ทั้ง 2 ตำรับได้ดี โดยปราศจากอาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงจากยาตลอดการทดลอง ค่า Tmax terminal half-life และ total plasma clearance ของยาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้มีค่าใกล้เคียงกับรายงานก่อนหน้านี้ พารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ทั้งหมดที่คำนวณได้จากยาทั้ง 2 ตำรับมีค่าใกล้เคียงกัน และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งบ่งชี้ความเท่าเทียมกันทางชีวสมมูลของยาเตรียมทั้ง 2 ตำรับที่ระดับความเชื่อมั่น 90% โดยมีสัดส่วนของ LnCmax อยู่ในพิสัย 0.9734-1.0889 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ถือว่ามีความเท่าเทียมกันทางชีวสมมูลตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้ (0.80-1.25) สรุปผล: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า Clozapin® ซึ่งเป็นยาสามัญ clozapine เมื่อให้โดยวิธีรับประทานแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภทไทยมีชีวสมมูลกับ Clozaril® ที่เป็นตำรับอ้างอิง
ที่มา
ศรีนครินทร์เวชสาร ปี 2550, Januray-March ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 16-23