คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
มลฤดี เพ็ชร์ลมุล*, นิติกุล บุญแก้วคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
บทคัดย่อ
จากการสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงให้ความสนใจ มีนโยบาย ในการดูแล แก้ไขปัญหา ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 429 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการประเมินคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-OLD) โดยเครื่องมือได้รับการแปลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ทำการตรวจสอบ ความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงโดยศึกษากับกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86 แบบประเมินประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ความสามารถของ ประสาทสัมผัส 2) ความเป็นอิสระ 3) กิจกรรมในอดีต ปัจจุบัน อนาคต 4) ปฏิสัมพันธ์ในสังคม 5) ความตาย การตาย และ 6) ความรักความผูกพัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยโดยรวม 94.11 คะแนน คะแนนแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก จากผลการวิจัยควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้มีกิจกรรม สร้างงานสร้างรายได้ อันทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสํารวจข้อมูลเพิ่มเติมใน กลุ่มผู้สูงอายุอื่นที่มีความแตกต่างทางสังคมออกไป เพื่อแก้ปัญหาได้เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่ม
ที่มา
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564, May-August
ปีที่: 31 ฉบับที่ 2 หน้า 140-151
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, elderly, ผู้สูงอายุ, คุณภาพชี่วิต, well-being, healthy aging, active aging, ความผาสุก, ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี, พฤฒพลัง