การศึกษาเปรียบเทียบการมองเห็นกล่องเสียงระหว่างการจัดท่า sniffing กับท่านอนราบแหงนศีรษะในการใส่ท่อช่วยหายใจของวิสัญญีพยาบาล
ปรัชญา ตันติพลาผลกลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
บทคัดย่อ
ท่า Sniffing เป็นท่าที่แนะนําในการใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ผู้ป่วยร้อยละ 80 ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจในท่านอนราบแหงนศีรษะโดยวิสัญญีพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับการมองเห็นกล่องเสียงและความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างการจัดท่า sniffing และท่านอนราบแหงนศีรษะของวิสัญญีพยาบาล
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วย 300 คน ที่เข้ารับการระงับความรู้สึก แบบทั่วตัว แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม A ใส่อุปกรณ์ส่องกล่องเสียงครั้งแรกในท่า sniffing และใส่ ครั้งที่สองในท่านอนราบแหงนศีรษะ กลุ่ม B ใส่อุปกรณ์ส่องกล่องเสียงครั้งแรกในท่านอนราบแหงน ศีรษะและใส่ครั้งที่สองในท่า sniffing แล้วใส่ท่อช่วยหายใจในท่านี้ บันทึกระดับการมองเห็นกล่องเสียง ทั้งสองครั้ง โดย Cormack & Lehane classification และความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจด้วย Intubation difficulty scale.
ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบระดับมองเห็นกล่องเสียงระหว่าง 2 ท่าพบว่าแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญ (p = 0.026) และเมื่อเปรียบเทียบในผู้ป่วยคนเดียวกันพบว่าท่า sniffing ทำให้มองเห็น กล่องเสียงได้ดีขึ้น 34 คน (22.6%) และแย่ลง 3 คน (2%) ซึ่งต่างจากท่านอนราบแหงนศีรษะอย่าง มีนัยสําคัญ ความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจในท่า Sniffing ใส่ท่อช่วยหายใจได้ง่ายกว่าท่านอนราบ แหงนศีรษะอย่างมีนัยสําคัญ
สรุป: ท่า sniffing ช่วยให้สามารถมองเห็นกล่องเสียงได้ดีและใส่ท่อช่วยหายใจได้ง่ายกว่าท่านอนราบแหงนศีรษะ ท่า sniffing จึงเป็นท่าที่เหมาะสมในการใส่ท่อช่วยหายใจของวิสัญญีพยาบาล
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2565, October-March
ปีที่: 36 ฉบับที่ 1 หน้า 38-48
คำสำคัญ
endotracheal intubation, simple head extension, sniffing position, nurse anesthetists, การใส่ท่อช่วยหายใจ, ท่า sniffing, ท่านอนราบแหงนศีรษะ, วิสัญญีพยาบาล