การประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบประคับประคอง
โชคชัย เขาวรินทร์, สุภาพ มะเครือสี, กิตศราวุธ ขวัญชารี, นิศา มะเครือสี*
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 62 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
บทคัดย่อ
คุณภาพชีวิตเป็นการวัดผลลัพธ์ทางการแพทย์ และสำคัญสำหรับการวางแผนเป้าหมายการรักษาใน ผู้ป่วยมะเร็ง ประเมินการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมี บำบัดแบบประคับประคอง เป็นการศึกษาที่สถาบันเดียวโดยศึกษาไปข้างหน้า โดยศึกษาในผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับ การวินิจฉัยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายชนิดก้อน มะเร็งทางโลหิตวิทยาที่กลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ เข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแบบประคับประคอง โดยเก็บข้อมูลใช้เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยข้อมูล พื้นฐาน การประเมินสภาวะร่างกายของผู้ป่วย มีการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยใช้ European Organization for Research and Treatment of Cancer (EORTC QLQ C30) โดยประเมินก่อนได้รับยาเคมี บำบัด ที่ 3 เดือน และ 6 เดือนหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด คะแนนของคุณภาพชีวิตจะมีการเปรียบเทียบกันทั้ง ก่อนได้รับยาเคมีบำบัด ที่ 3 เดือน 6 เดือน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง โดย รายงานเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่น้อยกว่า 0.05จากการศึกษามีผู้ป่วยที่ เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 70 ราย มีอายุเฉลี่ย 55.07 (SD 14.88) ปี เป็นเพศชาย 44 ราย และเป็นเพศหญิง 26 ราย เป็นมะเร็งชนิดก้อนจำนวน 49 ราย และเป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาจำนวน 21 ราย หลังจากติดตามที่ 6 เดือน พบว่ามี 27 รายที่ได้รับการประเมินครบทั้ง 3 ครั้ง คะแนนด้านการทำหน้าที่ (ด้านอารมณ์ ด้านการรับรู้ และ ด้านสังคม) สูงขึ้นที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รวมไปถึงอาการทางด้าน ความอ่อนเพลีย และสภาวะทางการเงินของผู้ป่วยนั้นพบว่าดีขึ้นหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด 3-6 เดือนก็ตาม คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยแย่ลงหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด 3 เดือน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากได้รับ ยาเคมีบำบัดที่ 6 เดือน แม้ว่าคะแนนทางด้านการทำหน้าที่ อาการอ่อนเพลีย และสภาพทางการเงินของผู้ป่วย จะดีขึ้นหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด แต่คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยแย่ลงหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดที่ 3 เดือน
 
ที่มา
วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปี 2564, December ปีที่: 28 ฉบับที่ 3 หน้า 17-29
คำสำคัญ
Quality of life, chemotherapy, คุณภาพชีวิต, ยาเคมีบำบัด, คุณภาพชี่วิต, advanced-stage cancer, มะเร็งระยะสุดท้าย