การศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกไทยวัยผู้ใหญ่
วรัฎฐา เจริญ*, นารีรัตน์ เอกจีน, กิจจาพร ชื่นบุญโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย และเพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณภาพชีวิตกับปัจจัยส่วนบุคคลของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย
วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลโรคกลุ่มอาการออทิสติกที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยกาหนดพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจานวน 9 ภูมิภาคในประเทศไทย จานวน 378 คน ในช่วงเดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบวัดคุณภาพชีวิต ชุดย่อฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้คือ จานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติเอฟเทส และสถิติทีเทส
ผล : กลุ่มตัวอย่าง 378 คน ส่วนใหญ่เพศชาย ร้อยละ 77.0 มีอายุระหว่าง 18 ปี 23 ปี ร้อยละ 70.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 32.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 73.5 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 69.3 และไม่มีการใช้สารเสพติดร้อยละ 98.4 คุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ พบว่าบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับดี มีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และมีคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ส่วนความแตกต่างของคุณภาพชีวิตโดยรวมกับปัจจัยส่วนบุคคล คือ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้
สรุป : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทยในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติวัยผู้ใหญ่
ที่มา
วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปี 2564, March
ปีที่: 15 ฉบับที่ 1 หน้า 1-13
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, autism Thai adults, บุคคลออทิสติกไทยวัยผู้ใหญ่